❤ สุขภาพจิตและการปรับตัว


ความหมายของสุขภาพจิต
      องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO ) ได้ให้คำนิยามของสุขภาพจิตไว้ว่าสุขภาพจิต หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่นและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบายใจ รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองในสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนไปได้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจแต่อย่างใด ไม่ได้ให้ความหมายเฉพาะการปราศจากอาการโรคจิตและโรคประสาทเท่านั้น




ความสำคัญของสุขภาพจิต
      สุขภาพจิตมีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมากและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนทุกคน ปัญหาทางสุขภาพจิตเสื่อมในปัจจุบันนับทวีจำนวนมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากซับซ้อนในสังคม เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาครอบครัว เป็นต้น
      สุขภาพจิตของบุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะพบบุคคลที่มีสภาวะทางจิตผิดปกติไปบ้าง นอกจากนี้แล้วมนุษย์ในปัจจุบันต้องพบกับภาวะตึงเครียดมากมาย ภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ความวิตกกังวลที่เกิดจากความไม่ปลอดภัยต่าง ๆในสังคม ภาวะดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่มีร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็งเท่านั้นที่จะสามารถต่อสู้ได้ นั่นคือ ผู้ที่มีสุขภาพที่ดีจะผ่านพ้นสภาพการณ์เหล่านั้นไปได้ด้วยดี




ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี
      1.รับรู้และเข้าใจตนเองได้ดีเสมอ คือรู้จักจะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง สามารถรับได้ทั้งความผิดหวังและความสำเร็จ รู้จักประมาณตน ไม่ดูถูกหรือยกย่องตนเองจนเกินความเกินจริง
      2.รับรู้และเข้าใจผู้อื่นได้ดี เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลรอบข้างอย่างราบรื่น สามารถเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี
      3.สามารถเผชิญปัญหาและความเป็นจริงของชีวิตได้ดี สามารถตัดสินใจในปัญหาได้อย่างชาญฉลาด มีเหตุผล สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ทุกสถานการณ์




สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต
      1.สาเหตุจากตัวบุคคล ประกอบไปด้วย
           1.1 ความผิดปกติทางกาย เช่น อ้วนหรือผอมเกินไป บุคคลเหล่านี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อย ส่งผลให้หลีกเลี่ยงการพบปะผู้อื่น ชอบเก็บตัว
           1.2 โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
           1.3 สภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเหตุการณ์ทั่วไปและเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
      2.สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย
           2.1 ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
           2.2 ปัญหาทางเศรษฐกิจ
           2.3 ปัญหาความเสื่อมโทรมทางสังคม




ประเภทของความผิดปกติทางจิต
      1.บุคลิกภาพผิดปกติหรือแปรปรวน
คือ พฤติกรรมที่แสดงออกอย่างไม่เหมาะสมโดยมีการเบี่ยงเบนหรือแปรปรวนไปจากบุคคลปกติ สามารถแบ่งประเภทตามเกณฑ์ได้ ดังนี้
           1.1 กลุ่ม A บุคลิกภาพพิกลหรือไม่เหมือนบุคคลปกติ
           - บุคลิกภาพแบบหวาดระแวง
           - บุคลิกภาพแบบเพี้ยน
           - บุคลิกภาพแบบจิตเภท
           1.2 กลุ่ม B บุคลิกภาพเพ้อฝันและอารมณ์รุนแรง
           - บุคลิกภาพแบบอารมณ์ไม่มั่นคง
           - บุคลิกภาพแบบเรียกร้องเอาแต่ใจ
           - บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม
           - บุคลิกภาพเห็นตนดีเด่น
           1.3 กลุ่ม C บุคลิกภาพวิตกกังวลและหวาดกลัว
           - บุคลิกภาพแบบมีปมด้อย
           - บุคลิกภาพแบบพึ่งพาผู้อื่น
           - บุคลิกภาพแบบสมยอมและก้าวร้าว




      2.โรคประสาท เป็นโรคที่เกิดจากความแปรปรวนทางจิตประเภทหนึ่งที่มีพื้นฐานมาจากความขัดแย้งและความวิตกกังวล
           2.1 โรคประสาทชนิดวิตกกังวล
           2.2 โรคประสาทชนิดหวาดกลัว
           2.3 โรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ
           2.4 โรคประสาทชนิดฮิสทีเรีย
           2.5 โรคประสาทชนิดซึมเศร้า
           2.6 โรคประสาทชนิดอุปทาน
           2.7 โรคประสาทชนิดท้อแท้
           2.8 โรคประสาทชนิดหลายบุคลิกภาพ

      3.โรคจิต เป็นบุคคลที่มีความเจ็บป่วยทางจิตอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียหน้าที่การทำงานของจิตใจในระดับสูญเสียความสามารถในการรับรู้ตนเอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
           3.1 โรคจิตชนิดจิตเภท
           3.2 โรคจิตชนิดอารมณ์แปรปรวน




วิธีการบำบัดอาการทางจิต
      1.การบำบัดทางกาย มีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
           1.1 การใช้ยา
           1.2 การช็อตด้วยไฟฟ้า
           1.3 การผ่าตัด

      2.การบำบัดทางจิตบำบัด ส่วนใหญ่แล้วเป็นลักษณะการสนทนากันระหว่างจิตแพทย์กับผู้ที่มีอาการทางจิต
      3.การบำบัดทางพฤติกรรมบำบัด บำบัดให้ผู้มีอาการทางจิตเรียนรู้เงื่อนไขหรือเลียนแบบตัวแบบใหม่ตามที่ผู้บำบัดกำหนดขึ้น
      4.การบำบัดโดยวิธีการอื่น ๆ
เช่น การบำบัดเป็นกลุ่ม การบำบัดโดยการเล่น นันทนาการบำบัดหรือนันทนจิต อาชีวบำบัด




การส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี
      1.รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
      2.ทำจิตใจให้มีความเบิกบาน แจ่มใส อย่าเคร่งเครียด
      3.มีทัศนคติกับตนเองในทางที่ดี เห็นคุณค่าในตนเอง
      4.มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลรอบข้าง
      5.อย่าปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป
      6.ฝึกสมาธิ เพื่อให้มีสติรับรู้อารมณ์และการกระทำของตนอยู่ตลอดเวลา
      7.รู้จักการปล่อยวาง
      8.หมั่นสำรวจตนเองและปรับปรุงส่วนที่เป็นข้อบกพร่อง




ความหมายของการปรับตัว
      การปรับตัว คือ ความพยายามของบุคคลในการที่จะหาวิธีที่จะลดสภาวะความตึงเครียดทางอารมณ์ ซึ่งความพยายามดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้มีความสามารถในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

สาเหตุที่ก่อให้เกิดการปรับตัว
      1.ความคับข้องใจ คือ จุดมุ่งหมายของบุคคลถูกขัดขวางทำให้ช้าลง
      2.ความขัดแย้ง คือ สภาวะทางอารมณ์อันเนื่องมาจากการที่บุคคลได้เผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องสนองตอบหลายสถานการณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน
      3.ความกดดัน คือ สภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการถูกสถานการณ์บางอย่างผลักดัน
      4.ความตึงเครียด คือ เป็นสภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากเกินไป




กลวิธานในการป้องกันตนเอง
      1.แบบสู้สถานการณ์ คือ วิธีการปรับตัวแบบเผชิญหน้ากับปัญหา ซึ่งเป็นได้ทั้งการสร้างสรรค์หรือทำลายก็ได้
      2.แบบหนีสถานการณ์ คือ วิธีการปรับตัวโดยให้ตนเองพ้นไปจากสถานการณ์ที่เป็นปัญหา
      3.แบบประนีประนอมสถานการณ์ คือ คือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการหรือเป้าหมายใหม่





GENERAL PSYCHOLOGY

13 ความคิดเห็น:

  1. สุขภาพจิตดี จะส่งผลให้ หน้าตาดีด้วยนะ

    ดูจากเราสิ 555555555555+

    ตอบลบ
  2. มั่วแน่ๆ ข้อมูลไม่มั่วนะ แต่คนอ่ะมั่ว 55

    ตอบลบ
  3. ข้อมูลความรู้เพียบ
    ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 13:26

    สุขภาพจิตดี ทำให้เรามีหน้าตาดีด้วยมั้ย อิอิ
    อ้อยจัย

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 13:35

    สุขภาพจิตดี ชีวิตดี เราก็เป็นคนดี อิอิ

    ==>>ป้อม

    ตอบลบ
  6. คนข้างบนนิแน่ใจแล้วเหรอ....ว่าเปนคนดี...โกหกตกนรกนะโวีย

    ตอบลบ
  7. แล้วอย่างฉันนิ สุขภาพจิตดี (เกินไป) ไหม อิอิ

    ตอบลบ
  8. จะเป็นประสาท+จิตอ่อนอยู่ล่ะ

    ตอบลบ
  9. สุขภาพจิตดี ทำให้จิตใจแจ่มใส แลละหน้าตาดีด้วย 5555

    ตอบลบ