❤ พฤติกรรมทางสังคม


      พฤติกรรมทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น โดยมีอิทธิพลต่อกัน หรือมีปฏิกิริยาทางสังคมแก่กัน




ระดับของพฤติกรรมทางสังคม มีอยู่ 3 ระดับ
      1.พฤติกรรมของแต่ละบุคคล เป็นพฤติกรรมของแต่ละบุคคลที่แสดงออกเมื่ออยู่ในสังคม ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงกับบุคคลอื่นได้ เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาคล้ายๆกัน
      2.พฤติกรรมระหว่างบุคคล เป็นพฤติกรรมระหว่างคน 2 คน ซึ่งมีผลต่อกัน การแสดงพฤติกรรมจะอยู่ในลักษณะของการโต้ตอบ มีการกระทำก่อนหลัง หรือการไม่กระทำร่วมกัน
      3.พฤติกรรมกลุ่ม เป็นพฤติกรรมของคนที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นพฤติกรรมที่ต้องแสดงร่วมกัน เช่น การประชุม การปรึกษาหารือ เป็นต้น



รูปแบบอิทธิพลทางสังคม มีอยู่หลายรูปแบบดังนี้
      1.การบังคับ เพื่อให้คนทำหน้าที่หรือแสดงพฤติกรรตามที่สังคมกำหนดการบังคับมีทั้งการลงโทษและการให้รางวัล
      2.บรรทัดฐาน เช่น ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และกฎหมาย
      3.การชี้นำคุณค่า การที่คนยอมรับและปฏิบัติสิ่งใดด้วยความเต็มใจ ส่วนหนึ่งเกิดด้วยความเต็มใจ เพราะเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ความรู้สึกในคุณค่าถือได้ว่าเป็นรากฐานของการแสดงพฤติกรรมทางสังคมชีวิตของคนในสังคมอยู่ภายใต้อิทธิพลสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม




กระบวนการที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางสังคม จะเกิดขึ้นโดยผ่าน 3 กระบวนการคือ
      1.การเร้าทางสังคม หมายถึง “บุคคล” ที่มีอิทธิพล ซึ่ง “เพียงแต่บุคคลอื่นปรากฏกายเท่านั้นจะมีผลต่อพฤติกรรมของสังคม” จะเห็นว่า คนไข้เมื่อได้ฟังคำพุดของนายแพทย์ที่ปลอบใจ ก็จะทำให้มีกำลังใจในการต่อสู้กับอาการเจ็บป่วยจากที่เคยเบื่อหน่ายในชีวิต ก็ขยันปฏิบัติตนตามที่หมดแนะนำ
      2.การเสริมแรงทางสังคม แรงเสริม แบ่งเป็นแรงเสริมปฐมภูมิ และแรงเสริมทุติยภูมิ แรงเสริมปฐมภูมิ เป็นแรงเสริมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อันได้แก่ปัจจัย 4 หรือ สิ่งที่จะนำมาซึ่งปัจจัย 4 คือ เงิน แรงเสริมทุติยภูมิ เช่นการที่บุคคลให้การยอมรับ ทักทาย ให้ความสนใจ
      3.การประเมินผลทางสังคม การแสดงพฤติกรรมทางสังคม เป็นการกระทำที่มีการตัดสินใจด้วยการหาข้อมูลทุกครั้ง บุคคลรอบข้างคือแหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ มนุษย์จะใช้การสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่น เมื่อตนเกิดความไม่แน่ใจว่าควรแสดงพฤติกรรมอย่างไรออกมา




การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
      การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึง การที่พฤติกรรมของบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและทัศนคติ ซึ่งกันและกันในลักษณะที่มีการตอบโต้และมีปฏิกิริยาต่อกันและกัน
      1.การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบุคคล การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมขั้นพื้นฐาน คือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองคน
      ปัจจัยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
           1.1.ความพึงพอในร่วมกัน
           1.2.ความเอื้อเฟื้อ
           1.3.ความไว้วางใจ
           1.4.บรรทัดฐานส่วนบุคคล




      2.การปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีธรรมชาติที่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
      ลักษณะของพฤติกรรมทางสังคม มากจากปัจจัยต่อไปนี้
           2.1.บรรทัดฐานกลุ่ม
           2.2.การคล้อยตามบุคคล
           2.3.การเสี่ยงของกลุ่ม
           2.4.ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

      การรับรู้ทางสังคม สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้บุคคล ได้แก่
           1.ลักษณะของบุคคลที่เป็นสิ่งเร้า
           2.สถานการณ์แวดล้อมของบุคคลที่เป็นสิ่งเร้า
           3.คุณลักษณะของผู้รับรู้




องค์ประกอบของการรับรู้ทางสังคม ประกอบด้วย
      1.เจตคติ หมายถึง ท่าทีความรู้สึก ความเชื่อที่มีต่อบุคคลหรือสิ่งของ หรือ สภาวะความพร้อมทางจิตที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึกและแนวโน้มของพฤติกรรมที่บุคคลมีต่อบุคคล สิ่งของและสถานการณ์ต่างๆ ไปในทิศทางหนึ่งสภาวะความพร้อมทางจิตจะอยู่นานพอสมควร ถ้าเรามีท่าทีความรู้สึกหรือเจตคติเชิงบวก เราย่อมปฏิบัติออกมาในทางบวก แต่ถ้าเรามีท่าทีความรู้สึกเชิงลบ เราก็ปฏิบัติออกมาทางลบ
      2.การรับรู้ภาพพจน์ของตนเอง เป็นการทำความเข้าใจตนเองทั้งทางบวกและทางลบ บุคคลจะทำความเข้าใจตนเองในด้านต่างๆ การทำความเข้าใจตนเองนี้จะทำให้คนสรุปภาพพจน์ของตนเองได้ว่าเป็นคนอย่างไร
      3.การรับรู้บุคคลอื่น กระบวนการสร้างความรู้สึก และสร้างความเข้าใจบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวงจรชีวิตเรา ไม่ว่าบุคคลที่เราชอบเขา เขาชอบเรา เราเกลียดเขา เขาเกลียดเรา หรือแม้แต่บุคคลที่เราชื่นชม นับถือ เคารพยกย่อง
      4.การขัดแย้งระหว่างบุคคล เมื่อบุคคลรับรู้คนอื่นผิดพลาดไป อาจจะทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่าบุคคลหรือระหว่างกลุ่มตามมาได้ ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นเป็นเหตุการณ์ใหญ่โต ลุกลามเป็นปัญหายุ่งยาก
      5.การสร้างมิตรภาพระหว่างบุคคล
การอยู่รวมกันในสังคมอย่างมีความสุข จำเป็นต้องอาศัยความชอบพอซึ่งกันและกัน การมีไมตรีจิตต่อกัน นักจิตวิทยาได้ศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการสร้างมิตรภาพระหว่างบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติส่วนบุคคล เวลา และสถานการณ์ประกอบกันโดยมีรายละเอียดดังนี้
           1.คุณลักษณะส่วนตัว
           2.ความใกล้ชิด
           3.ความคล้ายคลึงกัน




อิทธิพลของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล
      นักจิตวิทยาสังคมให้ความสนใจศึกษา อิทธิพลของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลได้ดังนี้
      1.การคล้อยตามและการเชื่อฟัง เป็นแนวโน้มของบุคคลที่จะประพฤติตามคนอื่นเพื่อให้ตนเองได้รับการยอมรับ
      2.การร่วมมือและการแข่งขัน เป็นที่ยอมรับกันว่าการแข่งขันเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความมานะพยายาม บุคคลจะตื่นตัวตลอดเวลา และจะได้ปริมาณงานสูง แต่การแข่งขันก็เป็นบ่อเกิดของความเครียดและการแตกความสามัคคีในบางครั้ง ดังนั้นจึงควรมีการตั้งเป้าหมายใหญ่ร่วมกันอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้การแข่งขันนั้นมีประสิทธิภาพดี
      3.การก้าวร้าว คือ การตอบสนองสิ่งเร้าที่เป็นพิษเป็นภัยแก่อินทรีย์ มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความก้าวร้าวไม่น้อยไปกว่าสัตว์อื่น ความก้าวร้าวของมนุษย์มีหลายรูปแบบ เช่น การจลาจล การลอบสังหาร การฆาตกรรม เป็นต้น
      4.พฤติกรรมการช่วยเหลือ การช่วยเหลือสังคมหรือ บุคคลที่ได้รับความทุกข์ พบว่ามีบ่อยครั้งที่ผุ้เห็นเหตุการณ์ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ นักจิตวิทยาพบว่า เป็นเพราะว่าผู้คนเกิดความรู้สึกไม่อยากรับผิดชอบและคิดว่าแม้ตนไม่ช่วย ผู้อื่นก็ช่วยได้
      5.ภาวะความเป็นผู้นำ





ประเภทของผู้นำ มี 3 ประเภท
      1.ผู้นำแบบเสรีนิยม จะไม่ค่อยทำงาน ไม่สนใจผู้ใต้บังคับบัญชา
      2.ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย ขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องอย่างสิ้นเชิง ไม่รับฟังความเห็นของผู้อื่น
      3.ผู้นำแบบประชาธิปไตย ยึดถือเหตุผลและความคิดของคนส่วนมาก การวางแผนสั่งการส่วนใหญ่มาจากผลของการประชุมปรึกษาหารือของสมาชิก




พฤติกรรมการแสดงออกแบบต่างๆ ของผู้นำ
      1.แบบนักบุญ จะไม่มุ่งงาน แต่จะมุ่งคน ทำให้มีบริวารมาก
      2.แบบเผด็จการ มุ่งแต่งานอย่างเดียว
      3.แบบพ่อปกครองลูก ให้ความเมตตาปราณีกับลูกน้อง
      4.แบบเจ้าระเบียบ อยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ใครฝ่าฝืนไม่ได้
      5.แบบนักพัฒนา เปลี่ยนแปลงในเรื่องเก่าๆ ทุกเรื่อง
      6.แบบนักบริหาร มีความรอบคอบ ปฏิบัติงานได้อย่างมีระบบแบบแผน รู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับงาน มีศิลปะในการจูงใจ





GENERAL PSYCHOLOGY

9 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 12:16

    พฤติกรรมการแสดงออกแบบต่างๆ ของผู้นำ
    1.แบบนักบุญ จะไม่มุ่งงาน แต่จะมุ่งคน ทำให้มีบริวารมาก
    2.แบบเผด็จการ มุ่งแต่งานอย่างเดียว
    3.แบบพ่อปกครองลูก ให้ความเมตตาปราณีกับลูกน้อง
    4.แบบเจ้าระเบียบ อยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ใครฝ่าฝืนไม่ได้
    5.แบบนักพัฒนา เปลี่ยนแปลงในเรื่องเก่าๆ ทุกเรื่อง
    6.แบบนักบริหาร มีความรอบคอบ ปฏิบัติงานได้อย่างมีระบบแบบแผน รู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับงาน มีศิลปะในการจูงใจ


    ผมเป็นแบบที่ 7 อะ แบบรวม 6 ข้อเข้าด้วยกัน อิอิ

    ตอบลบ
  2. แต่เราเป็น แบบที่ 1 นะ นักบุญ

    จะไม่มุ่งงาน ใดๆ ทั้งสิ้น จะมุ่งหาแต่คน อย่างเดียว 555555+

    ตอบลบ
  3. ไอ่บ้า...อยากให้เปนแบบที่ 2 จัง 55+

    ตอบลบ
  4. เจิดมาก ความรู้เพียบ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 13:28

    เราต้องเปนนักพัฒนา ฮ่าๆๆ อะไรเก่าๆ เราจะพัฒนาให้ดีก่าเดิม
    อ้อยจัย

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 13:33

    อ้ะจิงหรอ อิอิ

    ===>>ป้อม

    ตอบลบ
  7. 1.ผู้นำแบบเสรีนิยม
    2.ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย
    3.ผู้นำแบบประชาธิปไตย
    ฉันเลือกไม่ถูก ขอเป็นทั้ง 3 แบบ เน้อ อิอิ

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณมากครับ กำลังทำรายงานอยู่เลย มีประโยชน์มาก

    ตอบลบ