❤ สุขภาพจิตและการปรับตัว


ความหมายของสุขภาพจิต
      องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO ) ได้ให้คำนิยามของสุขภาพจิตไว้ว่าสุขภาพจิต หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่นและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบายใจ รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองในสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนไปได้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจแต่อย่างใด ไม่ได้ให้ความหมายเฉพาะการปราศจากอาการโรคจิตและโรคประสาทเท่านั้น




ความสำคัญของสุขภาพจิต
      สุขภาพจิตมีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมากและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนทุกคน ปัญหาทางสุขภาพจิตเสื่อมในปัจจุบันนับทวีจำนวนมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากซับซ้อนในสังคม เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาครอบครัว เป็นต้น
      สุขภาพจิตของบุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะพบบุคคลที่มีสภาวะทางจิตผิดปกติไปบ้าง นอกจากนี้แล้วมนุษย์ในปัจจุบันต้องพบกับภาวะตึงเครียดมากมาย ภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ความวิตกกังวลที่เกิดจากความไม่ปลอดภัยต่าง ๆในสังคม ภาวะดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่มีร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็งเท่านั้นที่จะสามารถต่อสู้ได้ นั่นคือ ผู้ที่มีสุขภาพที่ดีจะผ่านพ้นสภาพการณ์เหล่านั้นไปได้ด้วยดี




ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี
      1.รับรู้และเข้าใจตนเองได้ดีเสมอ คือรู้จักจะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง สามารถรับได้ทั้งความผิดหวังและความสำเร็จ รู้จักประมาณตน ไม่ดูถูกหรือยกย่องตนเองจนเกินความเกินจริง
      2.รับรู้และเข้าใจผู้อื่นได้ดี เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลรอบข้างอย่างราบรื่น สามารถเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี
      3.สามารถเผชิญปัญหาและความเป็นจริงของชีวิตได้ดี สามารถตัดสินใจในปัญหาได้อย่างชาญฉลาด มีเหตุผล สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ทุกสถานการณ์




สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต
      1.สาเหตุจากตัวบุคคล ประกอบไปด้วย
           1.1 ความผิดปกติทางกาย เช่น อ้วนหรือผอมเกินไป บุคคลเหล่านี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อย ส่งผลให้หลีกเลี่ยงการพบปะผู้อื่น ชอบเก็บตัว
           1.2 โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
           1.3 สภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเหตุการณ์ทั่วไปและเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
      2.สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย
           2.1 ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
           2.2 ปัญหาทางเศรษฐกิจ
           2.3 ปัญหาความเสื่อมโทรมทางสังคม




ประเภทของความผิดปกติทางจิต
      1.บุคลิกภาพผิดปกติหรือแปรปรวน
คือ พฤติกรรมที่แสดงออกอย่างไม่เหมาะสมโดยมีการเบี่ยงเบนหรือแปรปรวนไปจากบุคคลปกติ สามารถแบ่งประเภทตามเกณฑ์ได้ ดังนี้
           1.1 กลุ่ม A บุคลิกภาพพิกลหรือไม่เหมือนบุคคลปกติ
           - บุคลิกภาพแบบหวาดระแวง
           - บุคลิกภาพแบบเพี้ยน
           - บุคลิกภาพแบบจิตเภท
           1.2 กลุ่ม B บุคลิกภาพเพ้อฝันและอารมณ์รุนแรง
           - บุคลิกภาพแบบอารมณ์ไม่มั่นคง
           - บุคลิกภาพแบบเรียกร้องเอาแต่ใจ
           - บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม
           - บุคลิกภาพเห็นตนดีเด่น
           1.3 กลุ่ม C บุคลิกภาพวิตกกังวลและหวาดกลัว
           - บุคลิกภาพแบบมีปมด้อย
           - บุคลิกภาพแบบพึ่งพาผู้อื่น
           - บุคลิกภาพแบบสมยอมและก้าวร้าว




      2.โรคประสาท เป็นโรคที่เกิดจากความแปรปรวนทางจิตประเภทหนึ่งที่มีพื้นฐานมาจากความขัดแย้งและความวิตกกังวล
           2.1 โรคประสาทชนิดวิตกกังวล
           2.2 โรคประสาทชนิดหวาดกลัว
           2.3 โรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ
           2.4 โรคประสาทชนิดฮิสทีเรีย
           2.5 โรคประสาทชนิดซึมเศร้า
           2.6 โรคประสาทชนิดอุปทาน
           2.7 โรคประสาทชนิดท้อแท้
           2.8 โรคประสาทชนิดหลายบุคลิกภาพ

      3.โรคจิต เป็นบุคคลที่มีความเจ็บป่วยทางจิตอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียหน้าที่การทำงานของจิตใจในระดับสูญเสียความสามารถในการรับรู้ตนเอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
           3.1 โรคจิตชนิดจิตเภท
           3.2 โรคจิตชนิดอารมณ์แปรปรวน




วิธีการบำบัดอาการทางจิต
      1.การบำบัดทางกาย มีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
           1.1 การใช้ยา
           1.2 การช็อตด้วยไฟฟ้า
           1.3 การผ่าตัด

      2.การบำบัดทางจิตบำบัด ส่วนใหญ่แล้วเป็นลักษณะการสนทนากันระหว่างจิตแพทย์กับผู้ที่มีอาการทางจิต
      3.การบำบัดทางพฤติกรรมบำบัด บำบัดให้ผู้มีอาการทางจิตเรียนรู้เงื่อนไขหรือเลียนแบบตัวแบบใหม่ตามที่ผู้บำบัดกำหนดขึ้น
      4.การบำบัดโดยวิธีการอื่น ๆ
เช่น การบำบัดเป็นกลุ่ม การบำบัดโดยการเล่น นันทนาการบำบัดหรือนันทนจิต อาชีวบำบัด




การส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี
      1.รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
      2.ทำจิตใจให้มีความเบิกบาน แจ่มใส อย่าเคร่งเครียด
      3.มีทัศนคติกับตนเองในทางที่ดี เห็นคุณค่าในตนเอง
      4.มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลรอบข้าง
      5.อย่าปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป
      6.ฝึกสมาธิ เพื่อให้มีสติรับรู้อารมณ์และการกระทำของตนอยู่ตลอดเวลา
      7.รู้จักการปล่อยวาง
      8.หมั่นสำรวจตนเองและปรับปรุงส่วนที่เป็นข้อบกพร่อง




ความหมายของการปรับตัว
      การปรับตัว คือ ความพยายามของบุคคลในการที่จะหาวิธีที่จะลดสภาวะความตึงเครียดทางอารมณ์ ซึ่งความพยายามดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้มีความสามารถในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

สาเหตุที่ก่อให้เกิดการปรับตัว
      1.ความคับข้องใจ คือ จุดมุ่งหมายของบุคคลถูกขัดขวางทำให้ช้าลง
      2.ความขัดแย้ง คือ สภาวะทางอารมณ์อันเนื่องมาจากการที่บุคคลได้เผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องสนองตอบหลายสถานการณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน
      3.ความกดดัน คือ สภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการถูกสถานการณ์บางอย่างผลักดัน
      4.ความตึงเครียด คือ เป็นสภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากเกินไป




กลวิธานในการป้องกันตนเอง
      1.แบบสู้สถานการณ์ คือ วิธีการปรับตัวแบบเผชิญหน้ากับปัญหา ซึ่งเป็นได้ทั้งการสร้างสรรค์หรือทำลายก็ได้
      2.แบบหนีสถานการณ์ คือ วิธีการปรับตัวโดยให้ตนเองพ้นไปจากสถานการณ์ที่เป็นปัญหา
      3.แบบประนีประนอมสถานการณ์ คือ คือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการหรือเป้าหมายใหม่





GENERAL PSYCHOLOGY

❤ พฤติกรรมทางสังคม


      พฤติกรรมทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น โดยมีอิทธิพลต่อกัน หรือมีปฏิกิริยาทางสังคมแก่กัน




ระดับของพฤติกรรมทางสังคม มีอยู่ 3 ระดับ
      1.พฤติกรรมของแต่ละบุคคล เป็นพฤติกรรมของแต่ละบุคคลที่แสดงออกเมื่ออยู่ในสังคม ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงกับบุคคลอื่นได้ เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาคล้ายๆกัน
      2.พฤติกรรมระหว่างบุคคล เป็นพฤติกรรมระหว่างคน 2 คน ซึ่งมีผลต่อกัน การแสดงพฤติกรรมจะอยู่ในลักษณะของการโต้ตอบ มีการกระทำก่อนหลัง หรือการไม่กระทำร่วมกัน
      3.พฤติกรรมกลุ่ม เป็นพฤติกรรมของคนที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นพฤติกรรมที่ต้องแสดงร่วมกัน เช่น การประชุม การปรึกษาหารือ เป็นต้น



รูปแบบอิทธิพลทางสังคม มีอยู่หลายรูปแบบดังนี้
      1.การบังคับ เพื่อให้คนทำหน้าที่หรือแสดงพฤติกรรตามที่สังคมกำหนดการบังคับมีทั้งการลงโทษและการให้รางวัล
      2.บรรทัดฐาน เช่น ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และกฎหมาย
      3.การชี้นำคุณค่า การที่คนยอมรับและปฏิบัติสิ่งใดด้วยความเต็มใจ ส่วนหนึ่งเกิดด้วยความเต็มใจ เพราะเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ความรู้สึกในคุณค่าถือได้ว่าเป็นรากฐานของการแสดงพฤติกรรมทางสังคมชีวิตของคนในสังคมอยู่ภายใต้อิทธิพลสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม




กระบวนการที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางสังคม จะเกิดขึ้นโดยผ่าน 3 กระบวนการคือ
      1.การเร้าทางสังคม หมายถึง “บุคคล” ที่มีอิทธิพล ซึ่ง “เพียงแต่บุคคลอื่นปรากฏกายเท่านั้นจะมีผลต่อพฤติกรรมของสังคม” จะเห็นว่า คนไข้เมื่อได้ฟังคำพุดของนายแพทย์ที่ปลอบใจ ก็จะทำให้มีกำลังใจในการต่อสู้กับอาการเจ็บป่วยจากที่เคยเบื่อหน่ายในชีวิต ก็ขยันปฏิบัติตนตามที่หมดแนะนำ
      2.การเสริมแรงทางสังคม แรงเสริม แบ่งเป็นแรงเสริมปฐมภูมิ และแรงเสริมทุติยภูมิ แรงเสริมปฐมภูมิ เป็นแรงเสริมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อันได้แก่ปัจจัย 4 หรือ สิ่งที่จะนำมาซึ่งปัจจัย 4 คือ เงิน แรงเสริมทุติยภูมิ เช่นการที่บุคคลให้การยอมรับ ทักทาย ให้ความสนใจ
      3.การประเมินผลทางสังคม การแสดงพฤติกรรมทางสังคม เป็นการกระทำที่มีการตัดสินใจด้วยการหาข้อมูลทุกครั้ง บุคคลรอบข้างคือแหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ มนุษย์จะใช้การสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่น เมื่อตนเกิดความไม่แน่ใจว่าควรแสดงพฤติกรรมอย่างไรออกมา




การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
      การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึง การที่พฤติกรรมของบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและทัศนคติ ซึ่งกันและกันในลักษณะที่มีการตอบโต้และมีปฏิกิริยาต่อกันและกัน
      1.การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบุคคล การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมขั้นพื้นฐาน คือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองคน
      ปัจจัยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
           1.1.ความพึงพอในร่วมกัน
           1.2.ความเอื้อเฟื้อ
           1.3.ความไว้วางใจ
           1.4.บรรทัดฐานส่วนบุคคล




      2.การปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีธรรมชาติที่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
      ลักษณะของพฤติกรรมทางสังคม มากจากปัจจัยต่อไปนี้
           2.1.บรรทัดฐานกลุ่ม
           2.2.การคล้อยตามบุคคล
           2.3.การเสี่ยงของกลุ่ม
           2.4.ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

      การรับรู้ทางสังคม สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้บุคคล ได้แก่
           1.ลักษณะของบุคคลที่เป็นสิ่งเร้า
           2.สถานการณ์แวดล้อมของบุคคลที่เป็นสิ่งเร้า
           3.คุณลักษณะของผู้รับรู้




องค์ประกอบของการรับรู้ทางสังคม ประกอบด้วย
      1.เจตคติ หมายถึง ท่าทีความรู้สึก ความเชื่อที่มีต่อบุคคลหรือสิ่งของ หรือ สภาวะความพร้อมทางจิตที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึกและแนวโน้มของพฤติกรรมที่บุคคลมีต่อบุคคล สิ่งของและสถานการณ์ต่างๆ ไปในทิศทางหนึ่งสภาวะความพร้อมทางจิตจะอยู่นานพอสมควร ถ้าเรามีท่าทีความรู้สึกหรือเจตคติเชิงบวก เราย่อมปฏิบัติออกมาในทางบวก แต่ถ้าเรามีท่าทีความรู้สึกเชิงลบ เราก็ปฏิบัติออกมาทางลบ
      2.การรับรู้ภาพพจน์ของตนเอง เป็นการทำความเข้าใจตนเองทั้งทางบวกและทางลบ บุคคลจะทำความเข้าใจตนเองในด้านต่างๆ การทำความเข้าใจตนเองนี้จะทำให้คนสรุปภาพพจน์ของตนเองได้ว่าเป็นคนอย่างไร
      3.การรับรู้บุคคลอื่น กระบวนการสร้างความรู้สึก และสร้างความเข้าใจบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวงจรชีวิตเรา ไม่ว่าบุคคลที่เราชอบเขา เขาชอบเรา เราเกลียดเขา เขาเกลียดเรา หรือแม้แต่บุคคลที่เราชื่นชม นับถือ เคารพยกย่อง
      4.การขัดแย้งระหว่างบุคคล เมื่อบุคคลรับรู้คนอื่นผิดพลาดไป อาจจะทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่าบุคคลหรือระหว่างกลุ่มตามมาได้ ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นเป็นเหตุการณ์ใหญ่โต ลุกลามเป็นปัญหายุ่งยาก
      5.การสร้างมิตรภาพระหว่างบุคคล
การอยู่รวมกันในสังคมอย่างมีความสุข จำเป็นต้องอาศัยความชอบพอซึ่งกันและกัน การมีไมตรีจิตต่อกัน นักจิตวิทยาได้ศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการสร้างมิตรภาพระหว่างบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติส่วนบุคคล เวลา และสถานการณ์ประกอบกันโดยมีรายละเอียดดังนี้
           1.คุณลักษณะส่วนตัว
           2.ความใกล้ชิด
           3.ความคล้ายคลึงกัน




อิทธิพลของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล
      นักจิตวิทยาสังคมให้ความสนใจศึกษา อิทธิพลของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลได้ดังนี้
      1.การคล้อยตามและการเชื่อฟัง เป็นแนวโน้มของบุคคลที่จะประพฤติตามคนอื่นเพื่อให้ตนเองได้รับการยอมรับ
      2.การร่วมมือและการแข่งขัน เป็นที่ยอมรับกันว่าการแข่งขันเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความมานะพยายาม บุคคลจะตื่นตัวตลอดเวลา และจะได้ปริมาณงานสูง แต่การแข่งขันก็เป็นบ่อเกิดของความเครียดและการแตกความสามัคคีในบางครั้ง ดังนั้นจึงควรมีการตั้งเป้าหมายใหญ่ร่วมกันอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้การแข่งขันนั้นมีประสิทธิภาพดี
      3.การก้าวร้าว คือ การตอบสนองสิ่งเร้าที่เป็นพิษเป็นภัยแก่อินทรีย์ มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความก้าวร้าวไม่น้อยไปกว่าสัตว์อื่น ความก้าวร้าวของมนุษย์มีหลายรูปแบบ เช่น การจลาจล การลอบสังหาร การฆาตกรรม เป็นต้น
      4.พฤติกรรมการช่วยเหลือ การช่วยเหลือสังคมหรือ บุคคลที่ได้รับความทุกข์ พบว่ามีบ่อยครั้งที่ผุ้เห็นเหตุการณ์ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ นักจิตวิทยาพบว่า เป็นเพราะว่าผู้คนเกิดความรู้สึกไม่อยากรับผิดชอบและคิดว่าแม้ตนไม่ช่วย ผู้อื่นก็ช่วยได้
      5.ภาวะความเป็นผู้นำ





ประเภทของผู้นำ มี 3 ประเภท
      1.ผู้นำแบบเสรีนิยม จะไม่ค่อยทำงาน ไม่สนใจผู้ใต้บังคับบัญชา
      2.ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย ขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องอย่างสิ้นเชิง ไม่รับฟังความเห็นของผู้อื่น
      3.ผู้นำแบบประชาธิปไตย ยึดถือเหตุผลและความคิดของคนส่วนมาก การวางแผนสั่งการส่วนใหญ่มาจากผลของการประชุมปรึกษาหารือของสมาชิก




พฤติกรรมการแสดงออกแบบต่างๆ ของผู้นำ
      1.แบบนักบุญ จะไม่มุ่งงาน แต่จะมุ่งคน ทำให้มีบริวารมาก
      2.แบบเผด็จการ มุ่งแต่งานอย่างเดียว
      3.แบบพ่อปกครองลูก ให้ความเมตตาปราณีกับลูกน้อง
      4.แบบเจ้าระเบียบ อยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ใครฝ่าฝืนไม่ได้
      5.แบบนักพัฒนา เปลี่ยนแปลงในเรื่องเก่าๆ ทุกเรื่อง
      6.แบบนักบริหาร มีความรอบคอบ ปฏิบัติงานได้อย่างมีระบบแบบแผน รู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับงาน มีศิลปะในการจูงใจ





GENERAL PSYCHOLOGY

❤ บุคลิกภาพ


      บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษที่ว่า “Personality” ซึ่งมาจากรากศัพท์ในภาษาลาตินว่า “Persona” ที่แปลว่าหน้ากาก บุคลิกภาพโดยรวมคือ ลักษณะภายนอก เช่น รูปร่าง หน้าตา กิริยาท่าทาง เป็นต้น และลักษณะภายใน เช่น นิสัยใจคอ ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม อารมณ์ และสติปัญญา




ความสำคัญของบุคลิกภาพ
      1. เกิดการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ พฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในแต่ละบุคคล
      2. เกิดการกตะหนักในเอกลักษณ์ของบุคคล ซึ่งบุคลิกภาพบางอย่างอาจเป็นต้นแบบให้กับบุคคลอื่นๆ รอบข้างได้
      3. สามารถพยากรณ์พฤติกรรมได้ ทำให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าหากมีสถานการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับเขา ก็น่าที่จะพบการตอบสนองจากบุคคลนั้นๆ ในลักษณะใดมากที่สุด
      4. เกิดความมั่นใจในตัวเอง บุคลิกภาพที่ดีจะส่งผลให้บุคคลเกิดความมั่นใจในการแสดงออก
      5. สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ บุคลิกภาพมีส่วนที่สำคัญในการช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลและสถานการณ์ได้ดีขึ้น
      6. การยอมรับของกลุ่ม บุคลิกภาพดีมักเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป โอกาสของการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นก็ย่อมมีมากขึ้น
      7. บุคลิกภาพทำให้เกิดความสำเร็จ บุคลิกภาพดีมักจะได้เปรียบคนอื่นๆ เสมอ เพราะการที่มีบุคคลิกภาพดนั้นจะทำให้ได้รับความเชื่อมั่นและศรัทธาจากผู้พบเห็นเป็นทุนเดิมแล้ว




บุคลิกภาพกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
      บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งมีความแตกต่างกันไป และสาเหตุที่ทำให้บุคลิกภาพของแต่ละคนแตกต่างกันนั้น เนื่องมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ พันธุกรรม (Heredity) และสิ่งแวดล้อม (Environment)
      1.อิทธิพลของพันธุกรรม ที่มีต่อบุคลิกภาพของบุคคล ส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าบุคลิกภาพในส่วนของลักษณะภายนอกทั้งหลาย เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผม สีผิว และลักษณะภายใน เช่น สติปัญญา เป็นต้น
      2.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อบุคลิกภาพของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย ครอบครัว สถานศึกษา ศาสนา สิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะให้ประสบการณ์ต่างๆ แก่บุคคล ซึ่งประสบการณ์ดังกล่าวอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
           2.1 ประสบการณ์ร่วมกัน (Experiences Common to Culture) หมายถึงประสบการณ์ที่ได้รับเหมือนๆ กับบุคคลอื่นในสังคม เช่น วัฒนธรรม ความเชื่อ ทัศนคติ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าเป็นอิทธิพลทางวัฒนธรรมนั้นเอง
           2.2 ประสบการณ์เฉพาะ (Individual Experience) ประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป เป็นผลจากบรรยากาศการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม




ทฤษฏีบุคลิกภาพ
      เป็นสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์และประกอบด้วยนิยามมีกฎที่สามารถพิสูจน์ได้
1.กลุ่มทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางจิต (Psychodynamic Theories) ประกอบด้วย 3 ทฤษฏีสำคัญ ได้ก่
      1.1 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) ซิกมันด์ ฟรอยด์ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
           1.1.1.อิด (Id) เป็นพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มีฐานมาจากสัญชาตญาณพื้นฐาน ในตัวมนุษย์ 2 ประการ คือ ความต้องการทางเพศ และความก้าวร้าว จึงกล่าวว่าอิดคือหลักแห่งความพึงพอใจ
           1.1.2.อีโก้ (Ego) พัฒนาจากการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองพลังของอิด คือ หลักแห่งความเป็นจริง
           1.1.3.ซุปเปอร์อีโก้ (Super ego) พัฒนามาจากกระบวนการเรียนรู้ ในจิตใต้สำนึกของบุคคล ซุปเปอร์อีโก้คือ จิตสำนึกแห่งคุณธรรมความดีงาม ทำงานตามหลัก แห่งคุณธรรมจริยธรรม
           การทำหน้าที่ของอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้นั้นจะทำงานในระดับที่แตกต่างกันของความรู้ตัว โครงสร้างทางจิต ด้วยภูเขาน้ำแข็ง โดยเป็น จิตไร้สำนึก จิตสำนึก และจิตใกล้สำนึก
      1.2 ทฤษฎีจิตวิทยาวิเคราะห์ (Analytical Psychology Theory) ได้แก่ คาร์ล จี. จุง ซึ่ง จุง เคยทำงานกับ ฟรอยด์แต่คิดเห็นไม่ตรงกัน และได้ทำการแบ่งประเภทของบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
           1.2.1.บุคคลประเภทชอบสังคม (Extrovert) เป็นคนเปิดเผย ร่าเริง ไม่ชอบเก็บตัว
           1.2.2.บุคคลประเภทเก็บตัว (Introvert) เป็นคนท่าทางลึกลับ ผูกพันกับตนเอง ชอบหลบหนี



      1.3 ทฤษฎีจิตวิทยารายบุคคล (Individual Psychology) อัลเฟลด แอดเลอร์ มี 3 ปัจจัยสำคัญ
           1.3.1.ลำดับการเกิด
                1.3.1.1 ลูกคนโต
มีบุคลิกขี้อิจฉา และเกลียดชังผู้อื่น รู้สึกไม่มั่นคง พยายามปกป้องตนเอง
                1.3.1.2 ลูกคนกลาง มีลักษณะทะเยอทะยาน มีมานะ จะเป็นคนดื้อรั้น และอิจฉาพี่น้อง
                1.3.1.3 ลูกคนเล็ก มักได้รับการตามใจ และครอบช่วยเหลืออยู่เสมอ เอาแต่ใจตัวเอง
                1.3.1.4 ลูกคนเดียว ได้รับการตามจากครอบครัว เอาแต่ใจ เหมือนลูกคนเล็ก
           1.3.2.ประสบการณ์วัยเด็ก
                1.3.2.1 เด็กที่มีปมด้อย
ฝังใจว่าตนเป็นผู้มีเคราะห์กรรม ล้มเหลวอยู่ตลอดเวลา
                1.3.2.2 เด็กที่ถูกตามใจจนเสียเด็ก มักเติบโตเป็นบุคคลที่เอาแต่ใจตนเอง เห็นแก่ตัว
                1.3.2.3 เด็กที่ถูกทอดทิ้ง คิดว่าตนเป็นคนที่คนอื่นรังเกียจเหยียดหยาม อยากแก้แค้น
           1.3.3.ความปรารถนา ปมเด่นและความรู้สึกถึงปมด้อย ทุกคนอยากมีความเด่น อย่างน้อย 1 ประการ และผู้ที่มีปมด้วย มักจะสร้างปมเด่นมาชดเชย




2.กลุ่มทฤษฎีบุคลิกภาพแบ่งตามประเภท
      2.1 ทฤษฎีประเภทของเชลดอน แบ่งบุลิกตามโครงสร้างของร่างกาย ดังนี้
           2.1.1.ประเภทอ้วนเตี้ย ร่าเริง มีอารมณ์ขัน เฉื่อยชา พึงพอใจกับการกิน รักสบาย
           2.1.2.ประเภทสมส่วน แข็งแรง ชอบออกกำลังกาย กระตือรือร้น กล้าหาญ
           2.1.3.ประเภทผอมสูง แขนขายาว ศีรษะมีขนาดใหญ่ เป็นคนเก็บตัว ไวต่อความรู้สึก
      2.2 ทฤษฎีบุคลิกภาพของไอแซงค์ แฮนส์ ไอแซงค์ บุคลิกภาพประกอบด้วย 2 มิติ ได้แก่ มิติเก็บตัว-แสดงตัว และมิติมั่นคง-หวั่นไหว

3.กลุ่มทฤษฎีบุคลิกภาพแบ่งตามคุณลักษณะเฉพาะตัว
      3.1 ทฤษฎีอุปนิสัยของอัลพอร์ต
บุคลิกภาพ คือ ปริศนาที่ไม่มีคำตอบเบ็ดเสร็จ ไม่มีอุปนิสัยใดตายตัวในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
           3.1.1.อุปนิสัยสามัญ หรืออุปนิสัยพื้นฐาน หมายถึง อุปนิสัยของบุคคลที่มีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากเกิดและเติบโตภายในสังคมและวัฒนธรรมเดียวกัน
           3.1.2.อุปนิสัยส่วนบุคคล เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละบุคคล คือ อุปนิสัยหลัก (โดดเด่นในตัวของบุคคล)อุปนิสัยร่วม (มีอยู่ในตัวบุคคลมากบ้างน้อยบ้างในสถานการณ์หนึ่งๆ) อุปนิสัยทุติยภูมา(ไม่ชอบเอารัดเอาเปรียบ ใช้ปัญญาในการช่วยเหลือผู้อื่น)
      3.2 ทฤษฎีลักษณะเฉพาะของแคตเตล์ กล่าวว่าลักษณะบุคลิกภาพเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อุปนิสัยพื้นผิว คือการแสดงออกให้เห็น เช่น สาวเปรี้ยว ทันสมัย เป็นต้น และ อุปนิสัยดั้งเดิม เป็นนิสัยภายในที่แท้จริงของบุคคล




4.กลุ่มทฤษฎีบุคลิกภาพเชิงมนุษยนิยม มี 2 ทฤษฎีได้แก่
      4.1 ทฤษฎีตัวตน ได้แก่ ตนที่ตนรับรู้ ตนตามความเป็นจริง ตนตามอุดมคติ คือเป็นอะไรที่ตนอยากจะเป็น
      4.2 ทฤษฎีตามลำดับขั้นความต้องการ คือ อับราฮัม มาสโลว์ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ธรรมชาติของมนุษย์ในความปรารถนาที่ต้องการจะพัฒนาตนเองเพื่อให้สู่จุดสูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคน บุคคลนี้เองที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในตัวบุคคลขึ้น โดยแบ่งความต้องการออกเป็น 5 ขั้น คือ ความต้องการด้านร่างกาย ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการด้านความเป็นเจ้าของและความรัก ความต้องการด้านการได้รับยกย่องจากผู้อื่น และความต้องการด้านการเข้าใจตนเองในความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

5.กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
      5.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
บุคคลเลือกแสดงพฤติกรรมที่ได้รับรางวัล หลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ จนหล่อหลอมกลายเป็นบุคลิกภาพ
      5.2 ทฤษฎีการเรียนรู้จากตัวแบบ เกิดจากการที่บุคคลนั้นมีการเรียนรู้จากตัวแบบโดยการสังเกต เป็นการเลียนแบบ ไม่ใช่การลอกแบบ




วิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพ
      1.การประเมินบุคลิกภาพ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ โดยแยกเป็น การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ
      2.การวัดบุคลิกภาพ โดยการใช้แบบทดสอบ ต่างๆ ได้แก่ แบบทดสอบบุคลิกภาพประเภทแบบสอบถาม และแบบทดสอบบุคลิกภาพประเภทฉายภาพ โดยแบบสอบถามมี 4 ลักษณะ คือ

           2.1. แบบสำรวจบุคลิกภาพรวมมิเนโซต้า วินิจฉัยความแปรปรวนทางพฤติกรรมของบุคคลทั้งปกติและผิดปกติ
           2.2. แบบสำรวจทางจิตวิทยาแคลิฟอร์เนีย ใช้วัดบุคคลที่ปกติเท่านั้น
           2.3. แบบทดสอบบุคลิกภาพของเอ็ดเวิร์ด ใช้วัดความสนใจ หรือ ทัศนคติของบุคคล
                      2.4. แบบสอบถามองค์ประกอบทางบุคลิกภาพทั้ง 16 และแบบภาพประเภทฉายภาพ มี 2 ลักษณะ คือ แบบทดสอบหยดหมึกของรอร์ชาร์ช และแบบทดสอบทีเอที




GENERAL PSYCHOLOGY

❤ อารมณ์

ความหมายของอารมณ์
           คำว่าอารมณ์ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Emotion” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “Emovere” หมายถึง การยกขึ้น การตื่น การก่อกวน ปั่นป่วน หรือความตื่นเต้นเร้าใจ ดังนั้นในทางจิตวิทยาแล้ว อารมณ์ คือ ความว้าวุ้นใจ ความปั่นป่วน เป็นสภาวะที่บุคคลสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง เป็นความรู้สึกภายในของบุคคลนั้นๆ
           ความรู้สึก (Feeling) เป็นลักษณะอาการที่แสดงออกของอารมณ์เป็นการแปลความหมายหรือตีความซึ่งแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกต่างๆ หรือหมายถึงกระบวนการการรู้สำนึกในเรื่องใดก็ได้
           จิตใจ (Mind) หมายถึงความรู้สึกนึกคิดของคนเราที่มั่นคงถาวร มีสาระแท้จริงและยากต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล

ประเภทของอารมณ์
           โรเบิร์ต พลูทชิค (Robert Plutchik) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องอารมณ์และเชื่อว่าอารมณ์มีพื้นฐานอยู่ 8 ชนิดคือ กลัว ประหลาดใจ เศร้า รังเกียจ โกรธ คาดหวัง รื่นเริง และยอมรับ อารมณ์ทั้ง 8 นี้ยังแปรเปลี่ยนไปตามระดับความความเข้มข้นของอารมณ์
           จาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) ได้เสนอแนวคิดการจำแนกอารมณ์แตกต่างไปจากพลูทชิค โดยเสนอว่าอารมณ์พื้นฐานนั้นมีอยู่ทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ คาดหวัง เดือดดาล ตระหนก และหวาดกลัว
           เราสามารถแยกอารมณ์ออกได้เป็น 2 ประเภท โดยแบ่งตามฐานที่เกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ได้แก่
           อารมณ์ที่พึงประสงค์ ได้แก่ อารมณ์ที่พึงปรารถนาหรือเบิกบานใจ เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุขและให้ประโยชน์ เช่น อารมณ์สงบ อารมณ์เพลินเพลิน อารมณ์รัก อารมณ์สุข เป็นต้น
           ส่วนอีกประเภทหนึ่งคืออารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ อารมณ์ที่ทำให้เกิดความทุกข์และไม่พึงประสงค์ อารมณ์ประเภทนี้เช่น อารมณ์ท้อแท้ อารมณ์ว้าวุ่น อารมณ์รันทด อารมณ์วิตกกังวล อารมณ์เจ็บปวด เป็นต้น

หน้าที่ของอารมณ์
           1. เป็นตัวเร้าให้เกิดพฤติกรรม (Arousal) เปรียบกับการให้สัญญาณว่าจะมีบางสิ่งที่สำคัญเกิดขึ้น และอารมณ์จะส่งผลให้เกิดการกระทำที่รุนแรง
           2. เป็นตัวรวบรวม อารมณ์จะทำให้การรับรู้ของเรามีสีสันกับตัวเราเองและผู้อื่น รวมทั้งยังทำให้รวบรวมการคิดเป็นระบบที่รู้สึกได้
           3. เป็นตัวนำและเป็นตัวสนับสนุนให้มีพฤติกรรมต่อเนื่องไป เราจะพบว่าสัตว์ที่โกรธจะต่อสู้ คนที่มีความกลัวจะถอยหนี ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า อารมณ์เป็นตัวนำให้เกิดพฤติกรรมและยังสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมที่ต่อเนื่องต่อไป
           4. การสื่อสาร การสื่อสารของอารมณ์หรือสัญญาณของอารมณ์นั้นจะแสดงออกโดยทางสีหน้าได้ในระดับหนึ่ง

การเกิดของอารมณ์
           นักวิทยาศาสตร์ นักสรีรวิทยา และนักวิวัฒนาการ พบว่าอารมณ์เป็นพลังชนิดหนึ่งและอารมณ์เกิดขึ้นเพราะสิ่งเร้า นอกจากนี้ในทางกายวิภาคศาสตร์ยังพบอีกว่าบริเวณสมองส่วนหน้านั้นมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอารมณ์ต่างๆอีกด้วย นั่นคือ
           1. สมองส่วนหน้าบริเวณฐานสมอง รับผิดชอบเกี่ยวกับสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ และความมั่นคงทางอารมณ์
           2. สมองส่วนหน้าบริเวณผิวด้านนอก รับผิดชอบเกี่ยวกับการมีอารมณ์สุนทรี และความไวต่ออารมณ์
           3. สมองส่วนหน้าบริเวณแนวกลาง รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อขาทั้งสองข้าง

ทฤษฎีทางอารมณ์
           1. ทฤษฎีอารมณ์ของ เจมส์-แลง (James-Lange Theory) ทฤษฎีนี้เน้นว่า อารมณ์ของเราเกิดขึ้นเนื่องจากมีสิ่งเร้าเข้ามาเร้าอินทรีย์ หลังจากนั้นร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
           วิลเลียม เจมส์ (William James) ได้เสนอแนวคิดว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคคลรู้สึกว่ามีอารมณ์เกิดขึ้นก็คือ การรู้สึกเปลี่ยนแปลงต่างๆทางสรีระที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการตอบสนองต่อสถานการณ์น่ากลัวหรือตกใจ

           2. ทฤษฎีทางอารมณ์ของแคนนอน-บาร์ด (Cannon-Bard Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า สมองส่วนไฮโปทาลามัสจะควบคุมอารมณ์ของสิ่งมีชีวิต โดยเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจะมีการส่งกระแสประสาทไปยังสมองส่วนนี้

           3. ทฤษฎีอารมณ์ของแซตเตอร์-ซิงเกอร์ (Schachter-Singer Theory) เป็นทฤษฎีที่จัดอยู่ในกลุ่มพุทธนิยม ซึ่งเน้นความสำคัญของสมองในการตีความหมายของสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ที่พบเห็นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร

พัฒนาการทางอารมณ์
           การแสดงออกทางอารมณ์ก็เหมือนกับพฤติกรรมอื่นๆที่ต้องอาศัยวุฒิภาวะและการเรียนรู้ โดยเฉพาะในระยะปีแรกของพัฒนาการมนุษย์
           วัยเด็กก่อนเข้าเรียนจะมีลักษณะอารมณ์ที่เอาแต่ใจตนเอง ในวัยรุ่นลักษณะอารมณ์จะไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย ในวัยผู้ใหญ่เป็นระยะที่มีแบบแผนทางอารมณ์ ในวัยชราลักษณะทางอารมณ์จะย้อนกลับไปเป็นแบบเปลี่ยนแปลงง่าย หวั่นไหวง่าย ไม่มั่นคง

การควบคุมอารมณ์
           1. ฝึกให้รู้จักระงับอารมณ์ที่รุนแรง แสดงอารมณ์ให้เหมาะสมตามกาลเทศะ
           2. พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความตรึงเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
           3. เมื่อมีเรื่องทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ ให้ระบายออกมาโดยเล่าให้ผู้อื่นที่ไว้ใจได้ฟัง
           4. สร้างอารมณ์ที่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้น และตั้งใจสร้างอารมณ์ดีให้มีตลอดไป

ความฉลาดทางอารมณ์
           ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient) หรือ E.Q. เป็นความสามารถในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ประกอบด้วย 3 ประการ ได้แก่
           องค์ประกอบแรก ได้แก่ เก่ง คือ ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเองได้
           องค์ประกอบที่สอง ได้แก่ ดี คือรู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง มีการตัดสินใจแก้ปัญหา
           องค์ประกอบที่สาม ได้แก่ มีความสุข คือมีความภูมิใจในตนเอง พึงพอใจในชีวิต

ประโยชน์ของความฉลาดทางอารมณ์
           1. สามารถประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีบุคลิกภาพที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มีความเหมาะสมกับในทุกสถานการณ์
           2. สามารถประยุกต์เพื่อการสื่อสารให้มีสัมพันธภาพ และประสานประโยชน์ร่วมกัน
           3. สามารถประยุกต์เพื่อพัฒนาองค์กรให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           4. สามารถประยุกต์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำให้เกิดความสำเร็จในการบริหาร


GENERAL PSYCHOLOGY

❤ แรงรูงใจและการจูงใจ


      แรงจูงใจ หมายถึง สิ่งที่เร้าหรือกระตุ้นอินทรีย์ให้มีพฤติกรรมไปสู่เป้าหมาย ส่วนการจูงใจ หมายถึง การใช้สิ่งล่อใจเพื่อให้ทำหน้าที่เร้าหรือกระตุ้นอินทรีย์ให้กระทำพฤติกรรมตามที่ปรารถนา ตัวอย่างของการจูงใจ เช่น การให้รางวัล การให้คำยกย่องชมเชย สิ่งล่อใจดังกล่าวจะกระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรมตามที่ปรารถนาอย่างกระตือรือร้น




แรงจูงใจมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
      1.มีทิศทาง(Direction)
คือ วิธีการที่บุคคลได้พยายามที่จะกระทำเพื่อไปสู่เป้าหมาย
      2.มีความพยายาม (Effort) คือ บุคคลได้พยายามอย่างหนักมากน้อยเพียงใด เพื่อให้บรรลุในเป้าหมาย
      3.มีความต่อเนื่อง (Persistence) คือ บุคคลได้ใช้เวลาในการพยายามอย่างไม่ลดละเพื่อไปสู่เป้าหมายยาวนานเพียงใด





แรงจูงใจมี 3 ประเภท คือ
      1.แรงจูงใจทางชีววิทยา (Biological motives)
เช่น ความหิว ความกระหาย ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
      2.แรงจูงใจทางการกระตุ้น (Stimulus motives) เช่น การรับสัมผัส ความอยากรู้อยากเห็น เป็นต้น
      3.แรงจูงใจทางสังคมที่เป็นการเรียนรู้ (Learned social motives) คือ เน้นไปที่ประสบการณ์ทางสังคม




กระบวนการการเกิดแรงจูงใจ
      จะเริ่มจากร่างกายเกิดความต้องการ เช่น ความหิว ความกระหาย หรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ต้องการมีชื่อเสียง เป็นต้น เมื่อบุคคลเกิดความต้องการก็จะเกิดแรงขับ แรงขับนี้จะมีผลให้บุคคลกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ และจะก่อให้เกิดความพอใจ ซึงก็จะทำให้แรงขับของบุคคลลดลง อย่างไรก็ตาม บุคคลก็จะมีการเสียสมดุล หรือมีความต้องการด้านอื่น ๆ ขึ้นมาอีก และกระบวนการการเกิดแรงจูงใจก็จะเกิดขึ้นอีกเป็นวงจรซ้ำๆ ตลอดช่วงชีวิตของบุคคล

กระบวนการการจูงใจ
      จะมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการการเกิดแรงจูงใจ เพียงแต่กระบวนการการจูงใจ เริ่มแรกบุคคลอาจจะไม่ได้มีความต้องการแต่ถูกเร้าให้เกิดความต้องการเกิดขึ้นในตัวบุคคล ดังนั้น กระบวนการของการจูงใจจึงเพิ่มขั้นตอนของการเร้า หรือการกระตุ้นให้เกิดความต้องการอีกขั้นตอนหนึ่ง





ทฤษฏีแรงจูงใจ (Theories of Motivation)
      1. ทฤษฏีสัญชาตญาณ (lnstinct Theory) ได้ให้รูปแบบของพฤติกรรมว่าเป็นผลมาจากสัญชาตญาณ สัญชาตญาณจึงเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดของสมาชิกทั้งหมดในสัตว์สกุล เดียวกัน นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่เสนอแนวคิดนี้ ได้แก่ วิลเลี่ยม เจมส์ (William James) (1890) โดยเขาชื่อว่า ตามปกติแม้บุคคลจะสามารถแสดงสัญชาตญาณได้อย่างอัตโนมัติ แต่บุคคลก็สามารถปรับเปลี่ยนสัญชาตญาณได้ โดยการเรียนรู้และประสบการณ์

      2. ทฤษฏีแรงขับ (Drive theory) คำว่าแรงขับ (Drive) ได้นำมาใช้ครั้งแรกโดยวูดเวิร์ธ (Woodworth) ในปี ค.ศ. 1918 หมายถึง สิ่งกระตุ้นภายในที่ผลักดันให้บุคคลกระทำพฤติกรรม เขาได้อธิบายว่าลักษณะของแรงขับว่ามีทิศทาง ความเข้ม และความคงทน ความคิดในเรื่องการขับจะมีความเกี่ยวข้อง กับกระบวนการที่เรียกว่า โฮมีออสเตซิส (Homeostasis)




      3. ทฤษฏีเครื่องล่อ (lncentive Theory) ทฤษฏีนี้จะดึงให้บุคคลไปสู่เป้าหมาย เพราะสิ่งเร้าอยู่ภายนอก จึงเรียกเป็น Pull theory ซึ่งบางครั้งบุคคลอาจจะไม่ได้มีความขาดแคลนเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลที่จะเป็นสาเหตุให้ความต้องการทางชีววิทยานำไปสู่แรงขับ เพื่อรักษาความสมดุล หรือกระบวนการโฮมีออสเตซิส แต่บุคคลได้ถูกจูงใจจาดสิ่งเร้าภายนอก ที่เรียกว่า สิ่งล่อใจ (lncentive) ที่เป็นสิ่งดึงบุคคลให้ไปสู่เป้าหมาย

      4. ทฤษฏีการตื่นตัว (Arosal Theory) ได้ให้ความสำคัญกับระดับพลังงานที่จำเป็นต่อการก่อให้เกิดการตื่นตัวของบุคคล กิจกรรมบางกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคล จะเป็นการเพิ่มระดับของการตื่นตัว แต่ในบางครั้งบุคคลจะมีการตื่นตัวอย่างสูง และต้องการที่จะลดระดับการตื่นตัวให้ช้าลง




      5. ทฤษฏีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ รูปแบบของมาสโลว์ได้เป็นการพิจารณว่า ความต้องการของมนุษย์จะเริ่มจากระดับล่างเสียก่อน เมื่อความต้องการในระดับล่างได้รับการตอบสนองแล้ว ก็จะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป แต่ความต้องการในระดับสูงขึ้นจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งรูปแบบของมาสโลว์จะเป็นลักษณะเป็นปิรามิด

      6. ทฤษฏีความคาดหวัง – คุณค่า ทฤษฏีนี้ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการคิดความคาดหวังความเชื่อและความเข้าใจของบุคคล โดยมีประเภทของการรู้คิด 2 ประการที่นำไปสู่พฤติกรรมของบุคคล ประการแรก คือ ความคาดหวังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุให้บุคคลเข้าถึงเป้าหมายโดยเฉพาะตามที่บุคคลต้องการ และประการที่สอง คือ ความเข้าใจในคุณค่าของเป้าหมายนั้นที่มีต่อตัวบุคคล





GENERAL PSYCHOLOGY

❤ เชาว์ปัญญา


เชาว์ปัญญา (Intelligence)
      คือความสามารถของบุคคลในการคิด การกระทำ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ




ปัจจัยที่มีผลต่อเชาว์ปัญญา

อิทธิพลของพันธุกรรม
      ระดับสติปัญญาของบรรพบุรุษ ------> ระดับสติปัญญาของลูกหลาน
      บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมมากเท่าใด ระดับเชาว์ปัญญาจะใกล้เคียงกันมากเท่านั้น
ค่าสหสัมพันธ์ อยู่ระหว่าง 0 กับ 1
      เกี่ยวข้องทางพันธุกรรมมาก - ค่าสหสัมพันธ์สูง
      เกี่ยวข้องทางพันธุกรรมน้อย - ค่าสหสัมพันธ์ต่ำ




อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
      1.สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ - ขณะอยู่ในครรภ์มารดา
      2.สิ่งแวดล้อมทางสังคม - ความสัมพันธ์สิ่งที่อยู่รอบข้าง




ทฤษฎีเชาว์ปัญญา

1.ทฤษฎีองค์ประกอบเดี่ยว (Single - Factor Theory) โดย Binet และ Simon
      เชื่อว่า... เชาว์ปัญญาเป็นผลรวมของความสามารถทั่วๆไปของบุคคล คนที่มีเชาว์ปัญญาสูงจะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ทฤษฎีสององค์ประกอบ (Two - Factor Theory)
      เชื่อว่า...เชาว์ปัญญาเป็นสมรรถภาพทางสมอง มี 2 องค์ประกอบ มี 2 ทฤษฎี
      2.1 ทฤษฎีของสเปียร์แมน (Charls Spearman)
เชาว์ปัญญาแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ
           -องค์ประกอบทั่วไป เป็นความสามารถทั่วไป (6-Factor)
           -องค์ประกอบเฉพาะ เป็นความสามารถเฉพาะ (5-Factor)
           ในแต่ละบุคคล 6-Factor และ 5 Factor ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน อาจมีไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน
      2.2 ทฤษฎีของแคทเทล (Raymond B.Cattel)
เชาว์ปัญญาแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ
           -องค์ประกอบฟลูอิด เป็นสิ่งที่ได้จากพันธุกรรม
           -องค์ประกอบคริสตัลไลซ์ เป็นสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้




3.ทฤษฎีองค์ประกอบหลายตัว (Group - Factor Theory)
      3.1 ทฤษฎีของ Thorndike แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
           -องค์ประกอบทางนามธรรม : ความสามารถในการคิดเป็นนามธรรม
           -องค์ประกอบทางสังคม : ความสามารถในการปรับตัว เรียนรู้ เข้ากับสังคม
           -องค์ประกอบทางเครื่องจักรกล : ความสามารถในการเข้าใจโครงสร้าง การใช้งานเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ
      3.2 ทฤษฎีของ Thurstone
ความสามารถทางสมองมี 7 ด้าน
           -ความสามารถทางภาษา : ความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษา
           -ความสามารถด้านการคิดคำนวณ : ความสามารถในการคิดคำนวณปัญหาทางคณิตศาสตร์
           -ความสามารถด้านเหตุผล : ความสามารถในการคิดแบบอนุมาน กระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่
           -ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ : ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของรูปแบบต่าง ๆ
           -ความสามารถด้านความจำ : ความสามารถในการจำและระลึกความจำ
           -ความสามารถด้านรับรู้ : ความรวดเร็วในการรับรู้รายละเอียด เปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่างได้
           -ความสามารถในการใช้ถ้อยคำ : ใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว ถูกกาลเทศะ




4.ทฤษฎีโครงสร้างเชาว์ปัญญา 3 มิติ (Three - Dimensional Model) J.P.Guilford
โครงสร้างเชาว์ปัญญามี 3 มิติ
      -มิติที่ 1 มิติเนื้อหาในการคิด
           *ภาพ : สิ่งที่เป็นรูปธรรม
           *สัญลักษณ์ : ข้อมูลในรูปเครื่องหมายต่าง ๆ
           *ภาษา : ข้อมูลในรูปถ้อยคำ รูปภาพที่มีความหมาย
           *พฤติกรรม : ข้อมูลที่เป็นกริยาท่าทางที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์ของบุคคล





      -มิติที่ 2 มิติวิธีการ

           *การรู้และเข้าใจ : การรับรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัว
           *การจำ : ความสามารถจำสิ่งต่าง ๆ
           *การคิดแบบเอนกนัย : วิธีการคิดที่หลากหลายรูปแบบ คิดสร้างสรรค์
           *การคิดแบบเอกนัย : การคิดที่มีคำตอบเพียงหนึ่งเดียว
           *การประเมินค่า : การตัดสินใจโดยยึดถือความถูกต้อง เหมาะสม ความพึงปรารถนาเป็นเกณฑ์ เปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม





      -มิติที่ 3 มิติของความคิด
ผลของการคิดจากมิติที่ 1 และ 2

           *หน่วย : สิ่งที่ย่อยที่สุด มีลักษณะเฉพาะตัว
           *พวกหรือกลุ่ม : กลุ่มของหน่วยต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติร่วมกัน
           *ความสัมพันธ์ : การเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยหรือกลุ่ม อาศัยลักษณะบางอย่างเป็นเกณฑ์
           *ระบบ : โครงสร้างของหน่วย การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ อย่างมีแบบแผน
           *การแปลงรูป : การเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากลักษณะเดิมสู่รูปแบบใหม่
           *การประยุกต์ : การเข้าใจความหมายโดยนัยของข้อมูล เพื่อใช้ในการคาดคะเน ทำนาย
      บุคคลมี 4 x 5 x 6 = 120 ความสามารถ




การทดสอบเชาว์ปัญญา
      Sir Francis Galtom เป็นผู้ริเริ่มที่ศึกษาความแตกต่างด้านความสามารถของบุคคล
      1.แบบทดสอบรายบุคคล
           -แบบทดสอบของอัลเฟรด บิเนท์ วัดความแตกต่างระหว่างเด็กปกติกับเด็กเรียนช้า
           -แบบทดสอบของเทอร์แมน นำแบบทดสอบของบิเนท์มาปรับปรุง
           -แบบทดสอบของเวดสเลอร์ มี 3 ชุด
                ก.WAIS - ผู้ใหญ่
                ข.WISC - เด็ก 6-15 ปี เด็กวัยเรียน
                ค.WPPSI - เด็ก 4 ปี - 6 ปี 6 เดือน เด็กก่อนวัยเรียน




      2.แบบทดสอบรายกลุ่ม
           -แบบทดสอบที่ใช้ภาษา
           -แบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา
           Army Alfa - ใช้ทดสอบผู้ที่อ่านออกเขียนได้ &
           Army Beta - ใช้ทดสอบผู้ที่ไม่รู้หนังสือ




เกณฑ์การวัด IQ
      นำค่าที่ได้จากแบบทดสอบที่เรียกว่า อายุสมอง (MA) มาเปรียบเทียบกับ อายุที่แท้จริง (CA)
      IQ = MA*100/CA



GENERAL PSYCHOLOGY