❤ อารมณ์

ความหมายของอารมณ์
           คำว่าอารมณ์ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Emotion” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “Emovere” หมายถึง การยกขึ้น การตื่น การก่อกวน ปั่นป่วน หรือความตื่นเต้นเร้าใจ ดังนั้นในทางจิตวิทยาแล้ว อารมณ์ คือ ความว้าวุ้นใจ ความปั่นป่วน เป็นสภาวะที่บุคคลสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง เป็นความรู้สึกภายในของบุคคลนั้นๆ
           ความรู้สึก (Feeling) เป็นลักษณะอาการที่แสดงออกของอารมณ์เป็นการแปลความหมายหรือตีความซึ่งแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกต่างๆ หรือหมายถึงกระบวนการการรู้สำนึกในเรื่องใดก็ได้
           จิตใจ (Mind) หมายถึงความรู้สึกนึกคิดของคนเราที่มั่นคงถาวร มีสาระแท้จริงและยากต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล

ประเภทของอารมณ์
           โรเบิร์ต พลูทชิค (Robert Plutchik) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องอารมณ์และเชื่อว่าอารมณ์มีพื้นฐานอยู่ 8 ชนิดคือ กลัว ประหลาดใจ เศร้า รังเกียจ โกรธ คาดหวัง รื่นเริง และยอมรับ อารมณ์ทั้ง 8 นี้ยังแปรเปลี่ยนไปตามระดับความความเข้มข้นของอารมณ์
           จาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) ได้เสนอแนวคิดการจำแนกอารมณ์แตกต่างไปจากพลูทชิค โดยเสนอว่าอารมณ์พื้นฐานนั้นมีอยู่ทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ คาดหวัง เดือดดาล ตระหนก และหวาดกลัว
           เราสามารถแยกอารมณ์ออกได้เป็น 2 ประเภท โดยแบ่งตามฐานที่เกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ได้แก่
           อารมณ์ที่พึงประสงค์ ได้แก่ อารมณ์ที่พึงปรารถนาหรือเบิกบานใจ เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุขและให้ประโยชน์ เช่น อารมณ์สงบ อารมณ์เพลินเพลิน อารมณ์รัก อารมณ์สุข เป็นต้น
           ส่วนอีกประเภทหนึ่งคืออารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ อารมณ์ที่ทำให้เกิดความทุกข์และไม่พึงประสงค์ อารมณ์ประเภทนี้เช่น อารมณ์ท้อแท้ อารมณ์ว้าวุ่น อารมณ์รันทด อารมณ์วิตกกังวล อารมณ์เจ็บปวด เป็นต้น

หน้าที่ของอารมณ์
           1. เป็นตัวเร้าให้เกิดพฤติกรรม (Arousal) เปรียบกับการให้สัญญาณว่าจะมีบางสิ่งที่สำคัญเกิดขึ้น และอารมณ์จะส่งผลให้เกิดการกระทำที่รุนแรง
           2. เป็นตัวรวบรวม อารมณ์จะทำให้การรับรู้ของเรามีสีสันกับตัวเราเองและผู้อื่น รวมทั้งยังทำให้รวบรวมการคิดเป็นระบบที่รู้สึกได้
           3. เป็นตัวนำและเป็นตัวสนับสนุนให้มีพฤติกรรมต่อเนื่องไป เราจะพบว่าสัตว์ที่โกรธจะต่อสู้ คนที่มีความกลัวจะถอยหนี ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า อารมณ์เป็นตัวนำให้เกิดพฤติกรรมและยังสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมที่ต่อเนื่องต่อไป
           4. การสื่อสาร การสื่อสารของอารมณ์หรือสัญญาณของอารมณ์นั้นจะแสดงออกโดยทางสีหน้าได้ในระดับหนึ่ง

การเกิดของอารมณ์
           นักวิทยาศาสตร์ นักสรีรวิทยา และนักวิวัฒนาการ พบว่าอารมณ์เป็นพลังชนิดหนึ่งและอารมณ์เกิดขึ้นเพราะสิ่งเร้า นอกจากนี้ในทางกายวิภาคศาสตร์ยังพบอีกว่าบริเวณสมองส่วนหน้านั้นมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอารมณ์ต่างๆอีกด้วย นั่นคือ
           1. สมองส่วนหน้าบริเวณฐานสมอง รับผิดชอบเกี่ยวกับสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ และความมั่นคงทางอารมณ์
           2. สมองส่วนหน้าบริเวณผิวด้านนอก รับผิดชอบเกี่ยวกับการมีอารมณ์สุนทรี และความไวต่ออารมณ์
           3. สมองส่วนหน้าบริเวณแนวกลาง รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อขาทั้งสองข้าง

ทฤษฎีทางอารมณ์
           1. ทฤษฎีอารมณ์ของ เจมส์-แลง (James-Lange Theory) ทฤษฎีนี้เน้นว่า อารมณ์ของเราเกิดขึ้นเนื่องจากมีสิ่งเร้าเข้ามาเร้าอินทรีย์ หลังจากนั้นร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
           วิลเลียม เจมส์ (William James) ได้เสนอแนวคิดว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคคลรู้สึกว่ามีอารมณ์เกิดขึ้นก็คือ การรู้สึกเปลี่ยนแปลงต่างๆทางสรีระที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการตอบสนองต่อสถานการณ์น่ากลัวหรือตกใจ

           2. ทฤษฎีทางอารมณ์ของแคนนอน-บาร์ด (Cannon-Bard Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า สมองส่วนไฮโปทาลามัสจะควบคุมอารมณ์ของสิ่งมีชีวิต โดยเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจะมีการส่งกระแสประสาทไปยังสมองส่วนนี้

           3. ทฤษฎีอารมณ์ของแซตเตอร์-ซิงเกอร์ (Schachter-Singer Theory) เป็นทฤษฎีที่จัดอยู่ในกลุ่มพุทธนิยม ซึ่งเน้นความสำคัญของสมองในการตีความหมายของสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ที่พบเห็นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร

พัฒนาการทางอารมณ์
           การแสดงออกทางอารมณ์ก็เหมือนกับพฤติกรรมอื่นๆที่ต้องอาศัยวุฒิภาวะและการเรียนรู้ โดยเฉพาะในระยะปีแรกของพัฒนาการมนุษย์
           วัยเด็กก่อนเข้าเรียนจะมีลักษณะอารมณ์ที่เอาแต่ใจตนเอง ในวัยรุ่นลักษณะอารมณ์จะไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย ในวัยผู้ใหญ่เป็นระยะที่มีแบบแผนทางอารมณ์ ในวัยชราลักษณะทางอารมณ์จะย้อนกลับไปเป็นแบบเปลี่ยนแปลงง่าย หวั่นไหวง่าย ไม่มั่นคง

การควบคุมอารมณ์
           1. ฝึกให้รู้จักระงับอารมณ์ที่รุนแรง แสดงอารมณ์ให้เหมาะสมตามกาลเทศะ
           2. พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความตรึงเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
           3. เมื่อมีเรื่องทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ ให้ระบายออกมาโดยเล่าให้ผู้อื่นที่ไว้ใจได้ฟัง
           4. สร้างอารมณ์ที่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้น และตั้งใจสร้างอารมณ์ดีให้มีตลอดไป

ความฉลาดทางอารมณ์
           ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient) หรือ E.Q. เป็นความสามารถในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ประกอบด้วย 3 ประการ ได้แก่
           องค์ประกอบแรก ได้แก่ เก่ง คือ ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเองได้
           องค์ประกอบที่สอง ได้แก่ ดี คือรู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง มีการตัดสินใจแก้ปัญหา
           องค์ประกอบที่สาม ได้แก่ มีความสุข คือมีความภูมิใจในตนเอง พึงพอใจในชีวิต

ประโยชน์ของความฉลาดทางอารมณ์
           1. สามารถประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีบุคลิกภาพที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มีความเหมาะสมกับในทุกสถานการณ์
           2. สามารถประยุกต์เพื่อการสื่อสารให้มีสัมพันธภาพ และประสานประโยชน์ร่วมกัน
           3. สามารถประยุกต์เพื่อพัฒนาองค์กรให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           4. สามารถประยุกต์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำให้เกิดความสำเร็จในการบริหาร


GENERAL PSYCHOLOGY

❤ แรงรูงใจและการจูงใจ


      แรงจูงใจ หมายถึง สิ่งที่เร้าหรือกระตุ้นอินทรีย์ให้มีพฤติกรรมไปสู่เป้าหมาย ส่วนการจูงใจ หมายถึง การใช้สิ่งล่อใจเพื่อให้ทำหน้าที่เร้าหรือกระตุ้นอินทรีย์ให้กระทำพฤติกรรมตามที่ปรารถนา ตัวอย่างของการจูงใจ เช่น การให้รางวัล การให้คำยกย่องชมเชย สิ่งล่อใจดังกล่าวจะกระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรมตามที่ปรารถนาอย่างกระตือรือร้น




แรงจูงใจมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
      1.มีทิศทาง(Direction)
คือ วิธีการที่บุคคลได้พยายามที่จะกระทำเพื่อไปสู่เป้าหมาย
      2.มีความพยายาม (Effort) คือ บุคคลได้พยายามอย่างหนักมากน้อยเพียงใด เพื่อให้บรรลุในเป้าหมาย
      3.มีความต่อเนื่อง (Persistence) คือ บุคคลได้ใช้เวลาในการพยายามอย่างไม่ลดละเพื่อไปสู่เป้าหมายยาวนานเพียงใด





แรงจูงใจมี 3 ประเภท คือ
      1.แรงจูงใจทางชีววิทยา (Biological motives)
เช่น ความหิว ความกระหาย ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
      2.แรงจูงใจทางการกระตุ้น (Stimulus motives) เช่น การรับสัมผัส ความอยากรู้อยากเห็น เป็นต้น
      3.แรงจูงใจทางสังคมที่เป็นการเรียนรู้ (Learned social motives) คือ เน้นไปที่ประสบการณ์ทางสังคม




กระบวนการการเกิดแรงจูงใจ
      จะเริ่มจากร่างกายเกิดความต้องการ เช่น ความหิว ความกระหาย หรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ต้องการมีชื่อเสียง เป็นต้น เมื่อบุคคลเกิดความต้องการก็จะเกิดแรงขับ แรงขับนี้จะมีผลให้บุคคลกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ และจะก่อให้เกิดความพอใจ ซึงก็จะทำให้แรงขับของบุคคลลดลง อย่างไรก็ตาม บุคคลก็จะมีการเสียสมดุล หรือมีความต้องการด้านอื่น ๆ ขึ้นมาอีก และกระบวนการการเกิดแรงจูงใจก็จะเกิดขึ้นอีกเป็นวงจรซ้ำๆ ตลอดช่วงชีวิตของบุคคล

กระบวนการการจูงใจ
      จะมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการการเกิดแรงจูงใจ เพียงแต่กระบวนการการจูงใจ เริ่มแรกบุคคลอาจจะไม่ได้มีความต้องการแต่ถูกเร้าให้เกิดความต้องการเกิดขึ้นในตัวบุคคล ดังนั้น กระบวนการของการจูงใจจึงเพิ่มขั้นตอนของการเร้า หรือการกระตุ้นให้เกิดความต้องการอีกขั้นตอนหนึ่ง





ทฤษฏีแรงจูงใจ (Theories of Motivation)
      1. ทฤษฏีสัญชาตญาณ (lnstinct Theory) ได้ให้รูปแบบของพฤติกรรมว่าเป็นผลมาจากสัญชาตญาณ สัญชาตญาณจึงเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดของสมาชิกทั้งหมดในสัตว์สกุล เดียวกัน นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่เสนอแนวคิดนี้ ได้แก่ วิลเลี่ยม เจมส์ (William James) (1890) โดยเขาชื่อว่า ตามปกติแม้บุคคลจะสามารถแสดงสัญชาตญาณได้อย่างอัตโนมัติ แต่บุคคลก็สามารถปรับเปลี่ยนสัญชาตญาณได้ โดยการเรียนรู้และประสบการณ์

      2. ทฤษฏีแรงขับ (Drive theory) คำว่าแรงขับ (Drive) ได้นำมาใช้ครั้งแรกโดยวูดเวิร์ธ (Woodworth) ในปี ค.ศ. 1918 หมายถึง สิ่งกระตุ้นภายในที่ผลักดันให้บุคคลกระทำพฤติกรรม เขาได้อธิบายว่าลักษณะของแรงขับว่ามีทิศทาง ความเข้ม และความคงทน ความคิดในเรื่องการขับจะมีความเกี่ยวข้อง กับกระบวนการที่เรียกว่า โฮมีออสเตซิส (Homeostasis)




      3. ทฤษฏีเครื่องล่อ (lncentive Theory) ทฤษฏีนี้จะดึงให้บุคคลไปสู่เป้าหมาย เพราะสิ่งเร้าอยู่ภายนอก จึงเรียกเป็น Pull theory ซึ่งบางครั้งบุคคลอาจจะไม่ได้มีความขาดแคลนเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลที่จะเป็นสาเหตุให้ความต้องการทางชีววิทยานำไปสู่แรงขับ เพื่อรักษาความสมดุล หรือกระบวนการโฮมีออสเตซิส แต่บุคคลได้ถูกจูงใจจาดสิ่งเร้าภายนอก ที่เรียกว่า สิ่งล่อใจ (lncentive) ที่เป็นสิ่งดึงบุคคลให้ไปสู่เป้าหมาย

      4. ทฤษฏีการตื่นตัว (Arosal Theory) ได้ให้ความสำคัญกับระดับพลังงานที่จำเป็นต่อการก่อให้เกิดการตื่นตัวของบุคคล กิจกรรมบางกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคล จะเป็นการเพิ่มระดับของการตื่นตัว แต่ในบางครั้งบุคคลจะมีการตื่นตัวอย่างสูง และต้องการที่จะลดระดับการตื่นตัวให้ช้าลง




      5. ทฤษฏีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ รูปแบบของมาสโลว์ได้เป็นการพิจารณว่า ความต้องการของมนุษย์จะเริ่มจากระดับล่างเสียก่อน เมื่อความต้องการในระดับล่างได้รับการตอบสนองแล้ว ก็จะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป แต่ความต้องการในระดับสูงขึ้นจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งรูปแบบของมาสโลว์จะเป็นลักษณะเป็นปิรามิด

      6. ทฤษฏีความคาดหวัง – คุณค่า ทฤษฏีนี้ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการคิดความคาดหวังความเชื่อและความเข้าใจของบุคคล โดยมีประเภทของการรู้คิด 2 ประการที่นำไปสู่พฤติกรรมของบุคคล ประการแรก คือ ความคาดหวังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุให้บุคคลเข้าถึงเป้าหมายโดยเฉพาะตามที่บุคคลต้องการ และประการที่สอง คือ ความเข้าใจในคุณค่าของเป้าหมายนั้นที่มีต่อตัวบุคคล





GENERAL PSYCHOLOGY

❤ เชาว์ปัญญา


เชาว์ปัญญา (Intelligence)
      คือความสามารถของบุคคลในการคิด การกระทำ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ




ปัจจัยที่มีผลต่อเชาว์ปัญญา

อิทธิพลของพันธุกรรม
      ระดับสติปัญญาของบรรพบุรุษ ------> ระดับสติปัญญาของลูกหลาน
      บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมมากเท่าใด ระดับเชาว์ปัญญาจะใกล้เคียงกันมากเท่านั้น
ค่าสหสัมพันธ์ อยู่ระหว่าง 0 กับ 1
      เกี่ยวข้องทางพันธุกรรมมาก - ค่าสหสัมพันธ์สูง
      เกี่ยวข้องทางพันธุกรรมน้อย - ค่าสหสัมพันธ์ต่ำ




อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
      1.สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ - ขณะอยู่ในครรภ์มารดา
      2.สิ่งแวดล้อมทางสังคม - ความสัมพันธ์สิ่งที่อยู่รอบข้าง




ทฤษฎีเชาว์ปัญญา

1.ทฤษฎีองค์ประกอบเดี่ยว (Single - Factor Theory) โดย Binet และ Simon
      เชื่อว่า... เชาว์ปัญญาเป็นผลรวมของความสามารถทั่วๆไปของบุคคล คนที่มีเชาว์ปัญญาสูงจะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ทฤษฎีสององค์ประกอบ (Two - Factor Theory)
      เชื่อว่า...เชาว์ปัญญาเป็นสมรรถภาพทางสมอง มี 2 องค์ประกอบ มี 2 ทฤษฎี
      2.1 ทฤษฎีของสเปียร์แมน (Charls Spearman)
เชาว์ปัญญาแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ
           -องค์ประกอบทั่วไป เป็นความสามารถทั่วไป (6-Factor)
           -องค์ประกอบเฉพาะ เป็นความสามารถเฉพาะ (5-Factor)
           ในแต่ละบุคคล 6-Factor และ 5 Factor ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน อาจมีไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน
      2.2 ทฤษฎีของแคทเทล (Raymond B.Cattel)
เชาว์ปัญญาแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ
           -องค์ประกอบฟลูอิด เป็นสิ่งที่ได้จากพันธุกรรม
           -องค์ประกอบคริสตัลไลซ์ เป็นสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้




3.ทฤษฎีองค์ประกอบหลายตัว (Group - Factor Theory)
      3.1 ทฤษฎีของ Thorndike แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
           -องค์ประกอบทางนามธรรม : ความสามารถในการคิดเป็นนามธรรม
           -องค์ประกอบทางสังคม : ความสามารถในการปรับตัว เรียนรู้ เข้ากับสังคม
           -องค์ประกอบทางเครื่องจักรกล : ความสามารถในการเข้าใจโครงสร้าง การใช้งานเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ
      3.2 ทฤษฎีของ Thurstone
ความสามารถทางสมองมี 7 ด้าน
           -ความสามารถทางภาษา : ความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษา
           -ความสามารถด้านการคิดคำนวณ : ความสามารถในการคิดคำนวณปัญหาทางคณิตศาสตร์
           -ความสามารถด้านเหตุผล : ความสามารถในการคิดแบบอนุมาน กระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่
           -ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ : ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของรูปแบบต่าง ๆ
           -ความสามารถด้านความจำ : ความสามารถในการจำและระลึกความจำ
           -ความสามารถด้านรับรู้ : ความรวดเร็วในการรับรู้รายละเอียด เปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่างได้
           -ความสามารถในการใช้ถ้อยคำ : ใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว ถูกกาลเทศะ




4.ทฤษฎีโครงสร้างเชาว์ปัญญา 3 มิติ (Three - Dimensional Model) J.P.Guilford
โครงสร้างเชาว์ปัญญามี 3 มิติ
      -มิติที่ 1 มิติเนื้อหาในการคิด
           *ภาพ : สิ่งที่เป็นรูปธรรม
           *สัญลักษณ์ : ข้อมูลในรูปเครื่องหมายต่าง ๆ
           *ภาษา : ข้อมูลในรูปถ้อยคำ รูปภาพที่มีความหมาย
           *พฤติกรรม : ข้อมูลที่เป็นกริยาท่าทางที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์ของบุคคล





      -มิติที่ 2 มิติวิธีการ

           *การรู้และเข้าใจ : การรับรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัว
           *การจำ : ความสามารถจำสิ่งต่าง ๆ
           *การคิดแบบเอนกนัย : วิธีการคิดที่หลากหลายรูปแบบ คิดสร้างสรรค์
           *การคิดแบบเอกนัย : การคิดที่มีคำตอบเพียงหนึ่งเดียว
           *การประเมินค่า : การตัดสินใจโดยยึดถือความถูกต้อง เหมาะสม ความพึงปรารถนาเป็นเกณฑ์ เปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม





      -มิติที่ 3 มิติของความคิด
ผลของการคิดจากมิติที่ 1 และ 2

           *หน่วย : สิ่งที่ย่อยที่สุด มีลักษณะเฉพาะตัว
           *พวกหรือกลุ่ม : กลุ่มของหน่วยต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติร่วมกัน
           *ความสัมพันธ์ : การเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยหรือกลุ่ม อาศัยลักษณะบางอย่างเป็นเกณฑ์
           *ระบบ : โครงสร้างของหน่วย การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ อย่างมีแบบแผน
           *การแปลงรูป : การเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากลักษณะเดิมสู่รูปแบบใหม่
           *การประยุกต์ : การเข้าใจความหมายโดยนัยของข้อมูล เพื่อใช้ในการคาดคะเน ทำนาย
      บุคคลมี 4 x 5 x 6 = 120 ความสามารถ




การทดสอบเชาว์ปัญญา
      Sir Francis Galtom เป็นผู้ริเริ่มที่ศึกษาความแตกต่างด้านความสามารถของบุคคล
      1.แบบทดสอบรายบุคคล
           -แบบทดสอบของอัลเฟรด บิเนท์ วัดความแตกต่างระหว่างเด็กปกติกับเด็กเรียนช้า
           -แบบทดสอบของเทอร์แมน นำแบบทดสอบของบิเนท์มาปรับปรุง
           -แบบทดสอบของเวดสเลอร์ มี 3 ชุด
                ก.WAIS - ผู้ใหญ่
                ข.WISC - เด็ก 6-15 ปี เด็กวัยเรียน
                ค.WPPSI - เด็ก 4 ปี - 6 ปี 6 เดือน เด็กก่อนวัยเรียน




      2.แบบทดสอบรายกลุ่ม
           -แบบทดสอบที่ใช้ภาษา
           -แบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา
           Army Alfa - ใช้ทดสอบผู้ที่อ่านออกเขียนได้ &
           Army Beta - ใช้ทดสอบผู้ที่ไม่รู้หนังสือ




เกณฑ์การวัด IQ
      นำค่าที่ได้จากแบบทดสอบที่เรียกว่า อายุสมอง (MA) มาเปรียบเทียบกับ อายุที่แท้จริง (CA)
      IQ = MA*100/CA



GENERAL PSYCHOLOGY

❤ การเรียนรู้


การเรียนรู้ (Leaning)
      การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลจากประสบการณ์ การฝึกหัด ไม่เกี่ยวกับธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นผลมาจากการพัฒนา วุฒิภาวะ ความเจ็บป่วย ความเหนื่อยล้า และฤทธิ์ของยาหรือสารเคมีต่างๆ

ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้
      1. เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จากที่ทำไม่ได้มาเป็นทำได้
           การเปลี่ยนแปลงด้าน Cognitive Domain เปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจ
           การเปลี่ยนแปลงด้าน Affective Domain เปลี่ยนแปลงความตั้งใจ ความพอใจ
           การเปลี่ยนแปลงด้าน Psychomotor Domain เปลี่ยนแปลงด้านทักษะ ความสามารถ ซึ่งอาศัยการฝึกฝน
      2. การเรียนรู้เป็นผลของการฝึกหัดและประสบการณ์
      3. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เช่น การกินเหล้า ใช้เหล้าเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น



กระบวนการเรียนรู้

      สิ่งเร้า (Stimulus) > การสัมผัส(Sensation) > การรับรู้(Perception)

      V

      การตอบสนอง((Response) > มโนทัศน์(Concept)



ปัจจัยที่มีอิทธิพลจากการเรียนรู้

      1. ตัวผู้เรียน

           1.1. ระบบสมองและประสาท
           ปกติ – เรียนรู้ได้ดี
           ไม่ปกติ – เรียนรู้บกพร่อง
           1.2. วุฒิภาวะ ทั้งกายและจิตใจ (เกิดขึ้นตามวัย)
           1.3. ความพร้อม
           1.4. ประสบการณ์ ทำให้เรียนรู้ได้เร็วและชัดเจนมากขึ้น
           1.5. แรงจูงใจ เป็นแรงกระตุ้นให้เหมือนกับสิ่งที่เราชอบ
           1.6. ความบกพร่องทางร่างกาย เรียนรู้ช้า ซึ่งเป็นความพิการทางประสาทสัมผัส
           1.7. ความวิตกกังวล
           สูงเกินไป – กังวลมาก
           มีน้อย – ไม่กังวล
           1.8. สติปัญญา



      2. บทเรียน/ลักษณะงาน
           2.1. การลำดับเนื้อหาให้สอดคล้องกัน
           2.2. การลำดับความยากให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
           2.3. เนื้อหามีความสำคัญ
           2.4. ความยาวของบทเรียนถ้ามากไปก็ไม่สามารถรับได้
           2.5. สิ่งรบกวน
           การเรียนรู้เดิม รบกวน การเรียนรู้ใหม่
           การเรียนรู้ใหม่ รบกวน การเรียนรู้เดิม

      3. วิธีการเรียนและสอน
           3.1. มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เรียน
           3.2. การสร้างแรงจูงใจ
           3.3. การแนะแนวทางหาความรู้เพิ่มเติม
           3.4. วิธีการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา
           3.5. การฝึกปฏิบัติหลังการเรียนรู้ทฤษฎี



      4. ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้

      5. องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม
           5.1. ทางกายภาพ
           5.2. ด้านจิตใจ
           5.3. วัฒนธรรมประเพณี



ทฤษฎีการเรียนรู้
      1. กลุ่มทฤษฎีการเชื่อมโยงสัมพันธ์ต่อเนื่อง
           1.1. ทฤษฎีการเชื่อมโยง โดย ธอร์นไดค์ ศึกษาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง หาสาเหตุของปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา โดยลองผิดลองถูก เช่น แมวหิว + ตะกุยตะกาย + วิ่งไปมาเพื่อหาทางออกจากกรง + แมวเหยียบแท่นไม้โดยบังเอิญแล้วประตูก็เปิดออก
           นำผลการทดลองมาตั้งเป็น “กฎของการเรียนรู้”
           - กฎแห่งผล
           - กฎแห่งการฝึกหัด ทำซ้ำบ่อย ๆ ทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น
           - กฎแห่งความพร้อม เมื่อพร้อมที่จะทำ จะทำได้ดี และเมื่อไม่พร้อมที่จะทำ จะทำได้ไม่ดี
           1.2. ทฤษฏีการวางเงื่อนไข ของพาฟลอฟ แบบ Classical Conditionning
           1.3. ทฤษฏีการวางเงื่อนไข ของสกินเนอร์ แบบ Operant Conditionning
           - การตอบสนอง (กดคาน) เกิดจากตัวอินทรีย์เอง
           - อินทรีย์ควบคุมการตอบสนอง (กดคานได้) ได้

      2. กลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม การทำงานของสมองเป็นการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆที่ซับซ้อนได้



ความจำ (Memory)
      ความจำ หมายถึง กระบวนการที่สมองเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ เมื่อจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนั้นก็สามารถดึงออกมาใช้ได้แต่ข้อมูลบางส่วนอาจจะเลือนหายไปตามกาลเวลา

รูปแบบของความทรงจำ
      1. ความจำการรับสัมผัส จะจำได้ไม่กี่นาที
      2. ความจำระยะสั้น
      3. ความจำระยะยาว คือ จำชื่อตัวเองได้

วิธีวัดความจำ
      1. การระลึก รื้อฟื้นความจำในขณะที่ไม่มีเหตุการณ์นั้นปรากฏตรงหน้า
      2. การจำได้ จดจำสิ่งเร้าที่เคยเจอมาก่อนหน้า
      3. การเรียนซ้ำ เรียนในสิ่งที่เคยเรียนมาแล้ว



การลืม
สาเหตุของการลืม :

      1. การเสื่อมสลายของร่องรอย ลืมเลือนไปตามกาลเวลา
      2. การแทรกแซง
           - การตามแทรกแซง
           - การย้อนแทรกแซง
      3. แรงจูงใจ ลืมในสิ่งที่ไม่อยากจำ เก็บกฎเอาไว้ในจิตไร้สำนึก
      4. การเข้ารหัสโดยเฉพาะ รื้อฟื้นความทรงจำได้ดีเมื่อในสถานการณ์เดิม

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการจำ
      1.วิธี SQ3R
           S > Survey : อ่านบทเรียนคร่าวๆ
           Q > Question : ตั้งคำถามกับตัวเอง
           R > Read : การอ่านอย่างตั้งใจ
           R > Recite : ตรวจสอบจุดที่ตัวเองเข้าใจและไม่เข้าใจ
           R > Review : ทบทวนสิ่งที่เรียนมา

      2. การกระจายการฝึกหัด เหมะกับบทเรียนที่เป็นวิชาการ “เป็นการอ่านหนังสือเพื่อทบทวนวันละเล็กน้อย ซึ่งจะดีกว่าการหักโหมอ่านหนังสือทีเดียวทั้งหมด”

      3. วิธีการของโลซี เหมาะกับการท่องจำเป็นรูปธรรมโดยนำไปเชื่อมโยงกับสถานที่

      4. วิธีหมุดคำ เริ่มจากการจำบัญชีรายชีของคำนามที่เป็นรูปธรรมมีเสียงคล้องจองกับตัวเลข 1,2,3,...

      5. วิธีการเชื่อมโยง เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงเพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ อาจจะเป็นการเล่าเรื่องโดยใช้คำที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาเชื่อมโยงเพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น





GENERAL PSYCHOLOGY

❤ การรับรู้


ความหมายของการสัมผัสและอวัยวะรับสัมผัส


     ความรู้สึก Sensation เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสของร่างกาย

     สิ่งเร้าหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อประสาทสัมผัสสิ่งเร้าเป็นได้ทั้งพลังงานและสสาร ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกของร่างกาย ความรู้สึกจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากคนเรามีอวัยวะที่จะรับความรู้สึกจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย อวัยวะรับความรู้สึกเหล่านี้ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง เป็นต้น



การแปลความหมายของความรู้สึกสัมผัส เรียกว่า การรับรู้ (Perception)

     การที่เรารับความรู้สึกได้หรือไม่ได้นั้นสิ่งเร้าต้องมีแรงกระตุ้นที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดความรู้สึก เรียกว่า เทรชโฮลด์(Threshold)
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
      1. เทรชโฮลด์สมบูรณ์ (Absolute Threshold)
           คือ ปริมาณของสิ่งเร้าหรือแรงกระตุ้นที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดความรู้สึก สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความเข้มของสิ่งเร้า และขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่เราเกี่ยวข้องด้วย ความแตกต่างระหว่างบุคคลก็มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในการตัดสินเรื่อง Absolute threshold ด้วย เนื่องจากอวัยวะที่รับความรู้สึกของแต่ละบุคคลนั้น มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ไม่เหมือนกัน
      2. เทรชโฮลด์ความแตกต่าง (Differential thershold)
           คือความเปลี่ยนแปลงที่น้อยที่สุดของสิ่งเร้า ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าสิ่งเร้านั้นมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มเดิมของสิ่งเร้า หากความเข้มเดิมต่ำกว่าการเปลี่ยนค่าความเข้มเพียงเล็กน้อย จะทำให้เกิดความรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงได้ เราเรียกจุดที่ทำให้คนรู้สึกความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้านี้ว่า JND (Just Noticeable Difference)




อวัยวะรับความรู้สึก/อวัยวะรับสัมผัส
      อวัยวะรับความรู้สึกของมนุษย์มี 7 ประเภท คือ ตา หู จมูก ปาก ลิ้น ผิวหนัง กล้ามเนื้อสัมผัส และการทรงตัว ซึ่งแต่ละประเภทมีความรู้สึกที่แตกต่างกันตามลักษณะของสิ่งเร้านั้นๆ และได้แบ่งระบบรับสัมผัสออกเป็น 3 ระบบ ได้แก่
      -ประสาทสัมผัสส่วนไกล คือ ตาและหู
      -ประสาทสัมผัสส่วนใกล้ คือ จมูก ลิ้นและผิวหนัง
      -ประสาทสัมผัสส่วนลึก คือ การเคลื่อนไหวและการทรงตัว

ตา

      เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นภาพและแสง ส่วนประกอบของตามี 3 ส่วนได้แก่ เยื่อหุ้มชั้นนอก ชั้นกลาง และ ชั้นในสุด

หู
      เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว แบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลางและ หูชั้นในซึ่งหูชั้นในนี้สามารถแบ่งออกได้อีก 2 ส่วน คือ คอคเคลีย และ เซมิเซอคิวลาร์

จมูก
      เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับกลิ่น เป็นอวัยวะที่อ่อนแอเพราะประกอบขึ้นด้วยกระดูกบางและกระดูกอ่อน 2 ชิ้นมาประสานกัน มีเส้นประสาทและเส้นเลือดฝอยมากมายที่จะทำหน้าที่กระตุ้นไปยังสมองแล้วจึงเกิดความรู้สึกของการได้กลิ่น

ลิ้น
      เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้รสและลิ้นยังมีตุ่มสัมผัสรสอยู่ประมาณ 9,000 ตุ่มและยัง สามารถรับรู้รสพื้นฐานได้ 4 รส คือ เค็ม เปรี้ยว หวานและขม



ผิวหนัง
      เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรู้สึกทางกายเพื่อนำความรู้สึกที่ได้รับไปสู่สมองและสมองจะเป็นตัวแปลออกมาว่ารู้สึกอย่างไรและผิวหนังของผู้ชายจะบางกว่าผู้หญิงจึงทำให้ผู้หญิงมีเนื้อที่นุ่มกว่า

การเคลื่อนไหวหรือกล้ามเนื้อสัมผัส
      มีอยู่ทั่วร่างกายในทุกๆส่วนแล้วส่งความรู้สึกที่ได้นั้นนี้ไปยังสมอง จึงทราบว่าการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ว่ากำลังอยู่ในสภาพเช่นไร นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวนี้ยังทำงานร่วมกับเครื่องรับสัมผัสเกี่ยวกับการทรงตัวอีกด้วย

การทรงตัว
      เนื่องจากอวัยวะในหูมีการทำงานร่วมกับการทรงตัว การรู้สึกสัมผัสเกี่ยวการทรงตัวมีเครื่องรับสัมผัสอยู่ 2 ชนิด คือ เซมิเซอร์คิวลาร์ และ ถุงเวสติบิวลาร์



ความผิดปกติของตา มีหลายแบบดังนี้
      สายตายาว สายตาสั้น สายตาเอียง สายตาเหล่ ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ตาถั่วหรือตาดำเป็นฝ้าขุ่นขาวและ ตาบอดสี

ความผิดปกติของหู มีดังนี้
      การถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ขี้หูมากและแฉะ ติดจากเชื้อโรค เป็นฝีในหูและหูหนวก เป้นต้น

ความผิดปกติของจมูก มีดังนี้
      สันจมูกคด เนื้องอกในจมูก ต่อมอะคีนอยด์หรือต่อมทอนซิลอักเสบและไซนัสอักเสบ


การรับรู้หรือสัญชาน Perception
      1. สิ่งเร้าเข้ามากระทบอวัยวะรับสัมผัสของเราซึ่งอาจเป็น หู ตา จมูก ลิ้น และกาย อย่างใดอย่าง
หนึ่ง หรือหลายอย่าง
      2. กระแสประสาทสัมผัสก็จะวิ่งไปยังระบบประสารทส่วนกลาง ซึ่งมีศูนย์อยู่ที่สมอง
      3. มีการแปลความหมายออกมาเป็นความรู้ความเข้าใจ โดยอาศัยความจำความรู้เดิม ประสบการณ์
เดิม ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่ว่ามีมากน้อยแค่ไหน นอกจากยังขึ้นอยู่กับความต้องการ ค่านิยม ทัศนคติ และบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันไปด้วย



ธรรมชาติของการรับรู้
      1. การเลือกที่จะรับรู้ Selectivity เพราะสิ่งแวดล้อมมีมากเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะ
รับรู้ได้ ฉะนั้นจึงเลือกเอาเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องหรือจัดว่าเป็นสิ่งเร้าที่มีลักษณะ ดังนี้ สาวสวย เด่น เก่ง เท่ แปลกประหลาด ใหม่ และตรงกับความสนใจ
      2. การจัดหมวดหมู่ของสิ่งที่จะรับรู้

การรับรู้และพื้นภาพ Figure and ground
      การมองเห็นภาพต่าง ๆ ถ้าภาพใดมีขอบเขตแน่นอน ชัดเจน สิ่งที่มองเห็นเช่นนี้ เรียกว่า ภาพ แต่ถ้าส่วนใดไม่ชัดเจน ไม่มีขอบเขต แน่นอน หรือ เราไม่ใส่ใจรับรู้ เรียกว่า พื้นภาพ

ลักษณะหรือกระบวนการรับรู้ภาพและพื้นภาพ ประกอบด้วยลักษณะใหญ่ ๆ 3 ลักษณะ ดังนี้
      1. ในส่วนที่ปรากฏให้เห็นเป็นภาพนั้น เราจะรับรู้เป็นรูปร่างมีขอบเขตแน่นอน ส่วนพื้นภาพ เรามองดูกว้าง ๆ ไม่มีขอบเขตแน่นอน
      2. ส่วนภาพ มักจะมีขอบเขตจำกัด ทำให้เรารับรู้ลักษณะของภาพได้ชัดเจนกว่าพื้นภาพ
      3. ส่วนของภาพจะปรากฏให้เห็นว่าอยู่ในส่วนหน้า ส่วนที่เป็นพื้นมักปรากฏอยู่ทางด้านหลัง



หลักการจัดหมวดหมู่ในการรับรู้ Principle of Perceptual Grouping หรือการจัดระเบียบการรับรู้ perceptual Organization
      “มนุษย์เรานั้นมีแนวโน้มในการจักสิ่งต่าง ๆ หรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เขาเห็นที่รู้สึกได้ออกเป็นกลุ่ม ๆ เป็นหมวดหมู่ มากกว่าที่จะรับรู้เป็นส่วนย่อย ๆ “ คำกล่าวของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์
      1. หลักการความคล้ายคลึงกัน The principle of similarity
           วัตถุใดถ้ามีรูปร่าง ขนาด สี ไปในทางเดียวกันคล้ายคลึงกัน มนุษย์มักจะรับรู้เข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน
      2. หลักของความใกล้ชิด The principle of proximity
           ภาพของวัตถุหรือสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตามเมื่อปรากฏในที่เดียวกันและมีความใกล้ชิดแล้วมนุษย์เราจะมีแนวโน้มในการรับรู้เป็นหมวดเดียวกันมากกว่า
      3. หลักความต่อเนื่อง The principle of continuity
           สิ่งเร้าหรือวัตถุทั้งที่เป็นภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวได้ใด ๆ ก็ตาม ที่ปรากฏขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน มักก่อให้เกิดภาพได้ง่ายกว่า สิ่งเร้าหรือวัตถุที่ขาดการต่อเนื่องกัน เพราะมนุษย์มีแนวโน้มในการรับรู้ภาพเป็นหมวดเดียวกันนั่นเอง
      4. หลักประสานกันสนิท The principle of closure
           การรับรู้ของมนุษย์ มันจะรับรู้ในภาพที่สมบูรณ์แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีความสามารถในการรับรู้ภาพที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์หรือขาดบกพร่องไปบางส่วนเพียงเล็กน้อยได้ ทั้งนี้ เพราะมนุษย์มีแนวโน้มที่จะต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ได้

การรับรู้วัตถุและความคงที่ของการรับรู้
      มนุษย์มักจะเลือกรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะเด่น หรือสิ่งเร้าที่ตนเองสนใจอยู่แล้ว ในการรับรู้วัตถุก็เช่นเดียวกัน เราจะเลือกรับรู้เฉพาะที่เด่นและน่าสนใจ ปกติเรามักจะให้ความรู้สึกคงที่กับวัตถุหรือสิ่งรับรู้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปร่าง หรือสี ทั้ง ๆ ที่บางครั้งเปลี่ยนแปลงไปเสีย เราก็ยังรู้สึกเหมือนเดิม หรือรับรู้เหมือนเดิม ลักษณะของความคงที่ของวัตถุมีดังนี้
      1. ความคงที่ของสี Colour Constancy
      2. ความคงที่ของรูปร่าง Shape Constancy
      3. ความคงที่ของขนาด Size Constancy
      4. ความคงที่ของตำแหน่งวัตถุ Location Constancy

การรับรู้การเคลื่อนที่ของวัตถุ
      1. การเคลื่อนไหวที่ปรากฏแก่สายตา Apparent Motion เราอาจเห็นได้ว่าเกิดการเคลื่อนที่ได้ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ดังเช่นปรากฏการณ์ที่เกิดจากสิ่งเร้าคงที่
      2. การเคลื่อนไหวจริง Real Motion หรือการเคลื่อนไหวไปจากการชักจูง การมองเห็นสิ่งของวัตถุเคลื่อนที่นั้น เรามักจะสันนิษฐานว่าภาพหรือวัตถุขนาดใหญ่เด่นชัดกว่าถือว่าคงที่ แต่ภาพวัตถุที่มีขนาดเล็กถือว่ากำลังเคลื่อนไหวเสมอ



การรับรู้ความลึกหรือความไกล Depth and Distance Perception
      1. ตำแหน่งที่เหลื่อมล้ำกัน Interposition การมองดูภาพวัตถุหลาย ๆ ชิ้นซ้อนกันอยู่เราจะรับรู้ว่าวัตถุที่อยู่ใกล้ตัวเราย่อมบังวัตถุที่อยู่ไกลซึ่งมองเห็นได้เพียงบางส่วน
      2. ขนาดของสัดส่วนที่ปรากฏหรือทัศนียภาพ Perspective คือระยะของวัตถุที่ปรากฏแก่สายตานั้นมักทำให้มองวัตถุนั้นไกล ใกล้ ใหญ่ เล็กได้
      3. แสงและเงา Light and Shadow เป็นตัวช่วยให้เห็นเส้นขอบวงของ 3 มิติชัดเจนขึ้น โดยทำให้ภาพนั้นเว้าหรือนูนเด่นออกมา

ทัศนมายาหรือภาพลวงตา lllusion
      ภาพลวงตา เป็นภาพที่เกิดขึ้นจากการมองเห็นที่ผิดพลาดไปจากความเป็นจริง อาจเนื่องมาจากคุณสมบัติของสิ่งเร้า หรือสิ่งประกอบปรุงแต่ต่าง ๆ หรือความคิด ความเชื่อที่บุคคลนั้นมีอยู่ในการรับรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ภาพลวงตาเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
      1. ความสัมพันธ์ของขนาดวัตถุที่ปรากฏ Relative Size
      2. การตัดกันของเส้นตรง Intersecting Lines
      3. การตีความลึกตามหลักสัดส่วนที่ปรากฏแก่สายตา หรือเรียกว่า ภาพลวงตาพอนโซ Ponzo lllusion
      4. การต่อเติมสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไป หรือเรียกว่า มูลเลอร์ ไลเออร์ Muller Lye





GENERAL PSYCHOLOGY