❤ สรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์

ระบบกล้ามเนื้อ Muscle System แบ่งได้ 3 ชนิดคือ
      1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscles) ทำหน้าที่ตอบสนองสิ่งเร้าภายนอกแทบทั้งหมด ทำงานภายใต้สภาวะการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ
      2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscles) เป็นกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในร่างกาย ทำหน้าที่ตอบสนองสิ่งเร้าภายใน ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน
      3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscles) กล้ามเนื้อหัวใจจะหดตัวและขยายตัวในเวลาสูบฉีดโลหิตตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจชำรุดหรือล้า จะทำให้หัวใจเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้



ระบบต่อม Glands System
1. ต่อมมีท่อ (Duct glands)
      1.1 ต่อมน้ำลาย (Salivary gland) อยู่ในปากใต้ลิ้น มีหน้าที่ ขับน้ำลายเพื่อช่วยย่อยอาหารในปาก
      1.2 ต่อมเหงื่อ (Sweat gland) ปรับร่างกายให้มีอุณหภูมิในระดับปกติ
      1.3 ต่อมน้ำตา (Tear gland) อยู่ที่ขอบตา มีหน้าที่สร้างน้ำตาออกมาหล่อเลี้ยงชะล้างนัยน์ตาให้สะอาด
      1.4 ต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous gland) ผลิตน้ำมันออกมาหล่อเลี้ยง ผม ขน ผิวหนังไม่ให้แห้งและเปราะง่าย
      1.5 ต่อมน้ำนม (Mammary gland) มีในเพศหญิงช่วยสร้างน้ำนมขณะมีลูกอ่อน



2. ต่อมไร้ท่อ (Ductless glands Endocrine glands)
      2.1 ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมที่ใหญ่ที่สุดของต่อมไร้ท่อ ผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด
           1) ไทรอกซิน (Thyroxin) ทำหน้าที่ควบคุมเมตาโบริซึม (Metabolism) ของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายใช้อาหารและ ออกซิเจน ในการสร้างพลังงานได้เต็มที่
           2) แคลซิโทนิน (Calcitonin) มีหน้าที่ทำให้กระดูกสะสมแคลเซียมและฟอสเฟต
      2.2 ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) ผลิตฮอร์โมน พาราทอร์โมน (Parathomone) มีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญอาหารต่างๆในร่างกาย ควบคุมการเผาผลาญของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย
           ถ้าต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป = ทำให้มีอาการเกร็ง และชักกระตุก
           ถ้าต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป = ทำให้กระดูกบาง อ่อน งอ หรืออาจะหักลง ฟันหักและผุง่าย กล้ามเนื้อลีบ
      2.3 ต่อมไทมัส (Thymus gland) เมื่ออายุน้อยต่อมนี้จะโตมาก ยิ่งอายุมากขึ้นต่อมจะมีขนาดเล็กลง และจะฝ่อไปเมื่ออายุประมาณ 50 ปี
      2.4 ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ต่อมเหนือสมอง ผลิตฮอร์โมนชื่อ เมลาโทนิน (Melatonin) มีหน้าที่ ยับยั้งการเจริญเติบโตของรังไข่ และอวัยวะสืบพันธุ์ ควบคุมไม่ให้มีความรู้สึกทางเพศเร็วก่อนวุฒิภาวะ
      2.5 ต่อมแพนครีส (Pancreas gland) เป็นกลุ่มเซลล์แทรกอยู่ในเนื้อของตับอ่อน
      1) อินซูลิน (Insulin) ทำหน้าที่กระตุ้นอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ควบคุมระดับน้ำตาบในเลือด
           ถ้าอินซูลินน้อยเกินไป = ทำให้เป็นโรคเบาหวาน หิวง่าย กระหายน้ำ มีปัสสาวะมาก ถ่ายปัสสาวะบ่อย
           ถ้าอินซูลินมากเกินไป = ทำให้หิวและอ่อนเพลียมาก เลือดลดลงมากๆไม่พอเลี้ยงสมอง อาจทำให้ช็อคได้
      2) กลูคากอน (Glucacon) ทำหน้าที่เพิ่มปริมาณกลูโคสในเลือด ช่วยรักษาคนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ
      2.6 ต่อมหมวกไต หรือต่อมอดรีนัล (Adrenal gland) หรือต่อมหมวกไต ทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในร่างกาย ควบคุมการสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
      2.7 ต่อมเพศ (Gonad gland) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เกี่ยวการพัฒนาการของลักษณะทางเพศ
           1) อัณฑะ มีหน้าที่สร้างตัวอสุจิ และสร้างฮอร์โมน คือแอนโดรเจน และเทสโทสเทอโรน มีหน้าที่ควบคุมความเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ในเพศชาย และควบคุมลักษณะทุติยภูมิทางเพศ เช่น ตัวใหญ่ ไหล่กว้าง แข็งแรง นมขึ้นพาน เสียงแตก ลูกกระเดือกแหลม มีหนวดเคราขึ้น
           2) รังไข่ มีหน้าที่สร้างไข่ และสร้างฮอร์โมน เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะทุติยภูมิทางเพศในหญิง กระตุ้นต่อมน้ำนมเจริญเติบโตมีทรวดทรงดี ผิวพรรณละเอียดอ่อน เสียงแหลมเล็ก มีขนบริเวณรักแร้ และอวัยวะเพศ
           3) โปรเจสเตอโรน มีหน้าที่ควบคุมเยื่อชั้นในของมดลูกให้มีการเตรียมตัวเพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว



      2.8 ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) มี 3 ส่วน ดังนี้
           1) ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary) มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูก และการปฏิบัติหน้าที่ของต่อมเพศ การขับน้ำนม สร้างฮอร์โมนดังนี้
           - Growth hormone (GH) ทำหน้าที่ควบคุมหารเจริญเติบโตของร่างกายโดยเฉพาะกระดูกเส้นเอ็น และอวัยวะต่างๆของร่ายกาย
           - Adrenocorticotrophic hormone (ACTH) ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมน
           - Thyrotrophic hormone (TSH) มีหน้าที่การสร้างการหลั่งฮอร์โมนของต่อยไทรอยด์
           - Follicular Stimulating hormone (FSH) ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์
           - Lutinizing hormone (LH) ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ในการสร้างฮอร์โมน
           - Prolactin hormone (LTH) ทำหน้าที่ร่วมกับ GH กระตุ้นให้ต่อมน้ำนมเจริญเติบโต
           2) ต่อมใต้สมองส่วนกลาง (Intermediate Pituitary) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินเตอร์มีดิน ควบคุมการกระจายของเม็ด รงควัตถุในเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีสีผิวเข้มขึ้น
           3) ต่อมใต้สมองส่วนท้าย (Posterior Pituitary) แยกย่อยได้ 3 ชนิดคือ
           - พิโทซิน (Pitocin) กระตุ้นให้กล้ามเนื้อของมดลูกบีบตัวและหดตัวเพื่อช่วยในการคลอด
           - พิเทรสซิน (Pitressin) มีหน้าที่กระตุ้นเส้นเลือดแดงให้บีบตัวทำให้ความดันโลหิตสูง
           - แอนติไดยูเรติด (Antidiuratic hormone) กระตุ้นให้ไตดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสโลหิตก่อนที่จะขับออกมาเป็นปัสสาวะ



ระบบประสาท (NERVOUS SYSTEM)
      1.ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) CNS
ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ความรู้สึกต่างๆของร่างกาย ซึ่งรับเข้ามาโดยอวัยวะรับความรู้สึก จะส่งไปยังระบบปรสาทส่วนกลาง ซึ่งจะแปลความหมายและแสดงปฏิกิริยาตอบโต้
      2. ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system) PNS
           ระบบประสาทอัตบาล (ANS) ประกอบด้วยเส้นประสาทเป็นชุดๆซึ่งส่วนใหญ่ส่งกระแสประสาทไปกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ ทำหน้าที่เป็น ระบบสั่งงาน (Motor System)มีบทบาสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์
           ระบบประสาทโซมาติก (SNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทที่รับความรู้สึกหลังจากการเร้าภายนอกผ่านผิวหนังทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ เช่น เจ็บ ร้อน หนาว หรือถูกกดดัน



เซลล์ประสาท (NEURON)
      1. ตัวเซลล์ (Cell body) มีส่วนประกอบคล้ายๆเซลล์ทั่วไป
      2. เดนไดรท์ (Dendrites) มีหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่เซลล์ประสาท
      3. แอกซอน (Axon) ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทออกจากเซลล์
      4. ชีแนปส์ (Synapse) ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทไปยังเซลล์อื่นๆ



GENERAL PSYCHOLOGY

8 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2553 เวลา 16:40

    ขอบคุงมากนะค่ะ สำหรับข้อมูลค่ะ

    ตอบลบ
  2. นายออสการ์_Karisma'11 กรกฎาคม 2553 เวลา 16:48

    อ่าววว

    ข้อมูลหายไปไหนละ กำลังตั้งใจอ่านนะเนี่ย

    55555+

    ((ดูสร้างภาพเว่อออ))

    ตอบลบ
  3. ข้อมูลดีมาก ๆ ค่ะ : ) ขอเอาไปใช้ต่อนะค่ะ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณสำหลับขอมูลดีดีนะคับ

    ตอบลบ
  5. เหมือนเคยเรียนเรยอ่า ;)

    ตอบลบ
  6. ได้ความรู้มากเลยครับๆ

    ตอบลบ
  7. ออกแนวชีววิืทยา เหมือนตอนเรียนมอปลายเลย ^^

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 12:04

    ผมทำรายงานเรื่องนี้พอดี ขอหน่อยน้าาา คงมะว่ากัน ขอบคุงงับ ^^

    ตอบลบ