❤ การรับรู้


ความหมายของการสัมผัสและอวัยวะรับสัมผัส


     ความรู้สึก Sensation เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสของร่างกาย

     สิ่งเร้าหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อประสาทสัมผัสสิ่งเร้าเป็นได้ทั้งพลังงานและสสาร ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกของร่างกาย ความรู้สึกจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากคนเรามีอวัยวะที่จะรับความรู้สึกจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย อวัยวะรับความรู้สึกเหล่านี้ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง เป็นต้น



การแปลความหมายของความรู้สึกสัมผัส เรียกว่า การรับรู้ (Perception)

     การที่เรารับความรู้สึกได้หรือไม่ได้นั้นสิ่งเร้าต้องมีแรงกระตุ้นที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดความรู้สึก เรียกว่า เทรชโฮลด์(Threshold)
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
      1. เทรชโฮลด์สมบูรณ์ (Absolute Threshold)
           คือ ปริมาณของสิ่งเร้าหรือแรงกระตุ้นที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดความรู้สึก สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความเข้มของสิ่งเร้า และขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่เราเกี่ยวข้องด้วย ความแตกต่างระหว่างบุคคลก็มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในการตัดสินเรื่อง Absolute threshold ด้วย เนื่องจากอวัยวะที่รับความรู้สึกของแต่ละบุคคลนั้น มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ไม่เหมือนกัน
      2. เทรชโฮลด์ความแตกต่าง (Differential thershold)
           คือความเปลี่ยนแปลงที่น้อยที่สุดของสิ่งเร้า ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าสิ่งเร้านั้นมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มเดิมของสิ่งเร้า หากความเข้มเดิมต่ำกว่าการเปลี่ยนค่าความเข้มเพียงเล็กน้อย จะทำให้เกิดความรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงได้ เราเรียกจุดที่ทำให้คนรู้สึกความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้านี้ว่า JND (Just Noticeable Difference)




อวัยวะรับความรู้สึก/อวัยวะรับสัมผัส
      อวัยวะรับความรู้สึกของมนุษย์มี 7 ประเภท คือ ตา หู จมูก ปาก ลิ้น ผิวหนัง กล้ามเนื้อสัมผัส และการทรงตัว ซึ่งแต่ละประเภทมีความรู้สึกที่แตกต่างกันตามลักษณะของสิ่งเร้านั้นๆ และได้แบ่งระบบรับสัมผัสออกเป็น 3 ระบบ ได้แก่
      -ประสาทสัมผัสส่วนไกล คือ ตาและหู
      -ประสาทสัมผัสส่วนใกล้ คือ จมูก ลิ้นและผิวหนัง
      -ประสาทสัมผัสส่วนลึก คือ การเคลื่อนไหวและการทรงตัว

ตา

      เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นภาพและแสง ส่วนประกอบของตามี 3 ส่วนได้แก่ เยื่อหุ้มชั้นนอก ชั้นกลาง และ ชั้นในสุด

หู
      เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว แบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลางและ หูชั้นในซึ่งหูชั้นในนี้สามารถแบ่งออกได้อีก 2 ส่วน คือ คอคเคลีย และ เซมิเซอคิวลาร์

จมูก
      เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับกลิ่น เป็นอวัยวะที่อ่อนแอเพราะประกอบขึ้นด้วยกระดูกบางและกระดูกอ่อน 2 ชิ้นมาประสานกัน มีเส้นประสาทและเส้นเลือดฝอยมากมายที่จะทำหน้าที่กระตุ้นไปยังสมองแล้วจึงเกิดความรู้สึกของการได้กลิ่น

ลิ้น
      เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้รสและลิ้นยังมีตุ่มสัมผัสรสอยู่ประมาณ 9,000 ตุ่มและยัง สามารถรับรู้รสพื้นฐานได้ 4 รส คือ เค็ม เปรี้ยว หวานและขม



ผิวหนัง
      เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรู้สึกทางกายเพื่อนำความรู้สึกที่ได้รับไปสู่สมองและสมองจะเป็นตัวแปลออกมาว่ารู้สึกอย่างไรและผิวหนังของผู้ชายจะบางกว่าผู้หญิงจึงทำให้ผู้หญิงมีเนื้อที่นุ่มกว่า

การเคลื่อนไหวหรือกล้ามเนื้อสัมผัส
      มีอยู่ทั่วร่างกายในทุกๆส่วนแล้วส่งความรู้สึกที่ได้นั้นนี้ไปยังสมอง จึงทราบว่าการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ว่ากำลังอยู่ในสภาพเช่นไร นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวนี้ยังทำงานร่วมกับเครื่องรับสัมผัสเกี่ยวกับการทรงตัวอีกด้วย

การทรงตัว
      เนื่องจากอวัยวะในหูมีการทำงานร่วมกับการทรงตัว การรู้สึกสัมผัสเกี่ยวการทรงตัวมีเครื่องรับสัมผัสอยู่ 2 ชนิด คือ เซมิเซอร์คิวลาร์ และ ถุงเวสติบิวลาร์



ความผิดปกติของตา มีหลายแบบดังนี้
      สายตายาว สายตาสั้น สายตาเอียง สายตาเหล่ ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ตาถั่วหรือตาดำเป็นฝ้าขุ่นขาวและ ตาบอดสี

ความผิดปกติของหู มีดังนี้
      การถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ขี้หูมากและแฉะ ติดจากเชื้อโรค เป็นฝีในหูและหูหนวก เป้นต้น

ความผิดปกติของจมูก มีดังนี้
      สันจมูกคด เนื้องอกในจมูก ต่อมอะคีนอยด์หรือต่อมทอนซิลอักเสบและไซนัสอักเสบ


การรับรู้หรือสัญชาน Perception
      1. สิ่งเร้าเข้ามากระทบอวัยวะรับสัมผัสของเราซึ่งอาจเป็น หู ตา จมูก ลิ้น และกาย อย่างใดอย่าง
หนึ่ง หรือหลายอย่าง
      2. กระแสประสาทสัมผัสก็จะวิ่งไปยังระบบประสารทส่วนกลาง ซึ่งมีศูนย์อยู่ที่สมอง
      3. มีการแปลความหมายออกมาเป็นความรู้ความเข้าใจ โดยอาศัยความจำความรู้เดิม ประสบการณ์
เดิม ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่ว่ามีมากน้อยแค่ไหน นอกจากยังขึ้นอยู่กับความต้องการ ค่านิยม ทัศนคติ และบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันไปด้วย



ธรรมชาติของการรับรู้
      1. การเลือกที่จะรับรู้ Selectivity เพราะสิ่งแวดล้อมมีมากเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะ
รับรู้ได้ ฉะนั้นจึงเลือกเอาเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องหรือจัดว่าเป็นสิ่งเร้าที่มีลักษณะ ดังนี้ สาวสวย เด่น เก่ง เท่ แปลกประหลาด ใหม่ และตรงกับความสนใจ
      2. การจัดหมวดหมู่ของสิ่งที่จะรับรู้

การรับรู้และพื้นภาพ Figure and ground
      การมองเห็นภาพต่าง ๆ ถ้าภาพใดมีขอบเขตแน่นอน ชัดเจน สิ่งที่มองเห็นเช่นนี้ เรียกว่า ภาพ แต่ถ้าส่วนใดไม่ชัดเจน ไม่มีขอบเขต แน่นอน หรือ เราไม่ใส่ใจรับรู้ เรียกว่า พื้นภาพ

ลักษณะหรือกระบวนการรับรู้ภาพและพื้นภาพ ประกอบด้วยลักษณะใหญ่ ๆ 3 ลักษณะ ดังนี้
      1. ในส่วนที่ปรากฏให้เห็นเป็นภาพนั้น เราจะรับรู้เป็นรูปร่างมีขอบเขตแน่นอน ส่วนพื้นภาพ เรามองดูกว้าง ๆ ไม่มีขอบเขตแน่นอน
      2. ส่วนภาพ มักจะมีขอบเขตจำกัด ทำให้เรารับรู้ลักษณะของภาพได้ชัดเจนกว่าพื้นภาพ
      3. ส่วนของภาพจะปรากฏให้เห็นว่าอยู่ในส่วนหน้า ส่วนที่เป็นพื้นมักปรากฏอยู่ทางด้านหลัง



หลักการจัดหมวดหมู่ในการรับรู้ Principle of Perceptual Grouping หรือการจัดระเบียบการรับรู้ perceptual Organization
      “มนุษย์เรานั้นมีแนวโน้มในการจักสิ่งต่าง ๆ หรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เขาเห็นที่รู้สึกได้ออกเป็นกลุ่ม ๆ เป็นหมวดหมู่ มากกว่าที่จะรับรู้เป็นส่วนย่อย ๆ “ คำกล่าวของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์
      1. หลักการความคล้ายคลึงกัน The principle of similarity
           วัตถุใดถ้ามีรูปร่าง ขนาด สี ไปในทางเดียวกันคล้ายคลึงกัน มนุษย์มักจะรับรู้เข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน
      2. หลักของความใกล้ชิด The principle of proximity
           ภาพของวัตถุหรือสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตามเมื่อปรากฏในที่เดียวกันและมีความใกล้ชิดแล้วมนุษย์เราจะมีแนวโน้มในการรับรู้เป็นหมวดเดียวกันมากกว่า
      3. หลักความต่อเนื่อง The principle of continuity
           สิ่งเร้าหรือวัตถุทั้งที่เป็นภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวได้ใด ๆ ก็ตาม ที่ปรากฏขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน มักก่อให้เกิดภาพได้ง่ายกว่า สิ่งเร้าหรือวัตถุที่ขาดการต่อเนื่องกัน เพราะมนุษย์มีแนวโน้มในการรับรู้ภาพเป็นหมวดเดียวกันนั่นเอง
      4. หลักประสานกันสนิท The principle of closure
           การรับรู้ของมนุษย์ มันจะรับรู้ในภาพที่สมบูรณ์แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีความสามารถในการรับรู้ภาพที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์หรือขาดบกพร่องไปบางส่วนเพียงเล็กน้อยได้ ทั้งนี้ เพราะมนุษย์มีแนวโน้มที่จะต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ได้

การรับรู้วัตถุและความคงที่ของการรับรู้
      มนุษย์มักจะเลือกรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะเด่น หรือสิ่งเร้าที่ตนเองสนใจอยู่แล้ว ในการรับรู้วัตถุก็เช่นเดียวกัน เราจะเลือกรับรู้เฉพาะที่เด่นและน่าสนใจ ปกติเรามักจะให้ความรู้สึกคงที่กับวัตถุหรือสิ่งรับรู้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปร่าง หรือสี ทั้ง ๆ ที่บางครั้งเปลี่ยนแปลงไปเสีย เราก็ยังรู้สึกเหมือนเดิม หรือรับรู้เหมือนเดิม ลักษณะของความคงที่ของวัตถุมีดังนี้
      1. ความคงที่ของสี Colour Constancy
      2. ความคงที่ของรูปร่าง Shape Constancy
      3. ความคงที่ของขนาด Size Constancy
      4. ความคงที่ของตำแหน่งวัตถุ Location Constancy

การรับรู้การเคลื่อนที่ของวัตถุ
      1. การเคลื่อนไหวที่ปรากฏแก่สายตา Apparent Motion เราอาจเห็นได้ว่าเกิดการเคลื่อนที่ได้ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ดังเช่นปรากฏการณ์ที่เกิดจากสิ่งเร้าคงที่
      2. การเคลื่อนไหวจริง Real Motion หรือการเคลื่อนไหวไปจากการชักจูง การมองเห็นสิ่งของวัตถุเคลื่อนที่นั้น เรามักจะสันนิษฐานว่าภาพหรือวัตถุขนาดใหญ่เด่นชัดกว่าถือว่าคงที่ แต่ภาพวัตถุที่มีขนาดเล็กถือว่ากำลังเคลื่อนไหวเสมอ



การรับรู้ความลึกหรือความไกล Depth and Distance Perception
      1. ตำแหน่งที่เหลื่อมล้ำกัน Interposition การมองดูภาพวัตถุหลาย ๆ ชิ้นซ้อนกันอยู่เราจะรับรู้ว่าวัตถุที่อยู่ใกล้ตัวเราย่อมบังวัตถุที่อยู่ไกลซึ่งมองเห็นได้เพียงบางส่วน
      2. ขนาดของสัดส่วนที่ปรากฏหรือทัศนียภาพ Perspective คือระยะของวัตถุที่ปรากฏแก่สายตานั้นมักทำให้มองวัตถุนั้นไกล ใกล้ ใหญ่ เล็กได้
      3. แสงและเงา Light and Shadow เป็นตัวช่วยให้เห็นเส้นขอบวงของ 3 มิติชัดเจนขึ้น โดยทำให้ภาพนั้นเว้าหรือนูนเด่นออกมา

ทัศนมายาหรือภาพลวงตา lllusion
      ภาพลวงตา เป็นภาพที่เกิดขึ้นจากการมองเห็นที่ผิดพลาดไปจากความเป็นจริง อาจเนื่องมาจากคุณสมบัติของสิ่งเร้า หรือสิ่งประกอบปรุงแต่ต่าง ๆ หรือความคิด ความเชื่อที่บุคคลนั้นมีอยู่ในการรับรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ภาพลวงตาเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
      1. ความสัมพันธ์ของขนาดวัตถุที่ปรากฏ Relative Size
      2. การตัดกันของเส้นตรง Intersecting Lines
      3. การตีความลึกตามหลักสัดส่วนที่ปรากฏแก่สายตา หรือเรียกว่า ภาพลวงตาพอนโซ Ponzo lllusion
      4. การต่อเติมสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไป หรือเรียกว่า มูลเลอร์ ไลเออร์ Muller Lye





GENERAL PSYCHOLOGY

12 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมูลละเอียดจังเลยนะครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ29 สิงหาคม 2553 เวลา 11:39

    น่าสนใจมากๆๆเลย

    ตอบลบ
  3. รูป จะน่ารัก คิขุ ไปไหนเนี่ย? 555+

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ29 สิงหาคม 2553 เวลา 18:42

    นั้นสินะ รูปมันการ์ตูนมั๊กๆๆๆ

    เบิร์ดครับ 0865332655

    ตอบลบ
  5. ได้ความรู้มากเลย

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ31 สิงหาคม 2553 เวลา 12:29

    ได้ความรู้ดีเนอะ การ์ตูนน่ารักอ่า

    ตอบลบ
  7. หน้าตาใช้ได้
    แต่...
    ขี้เกียจอ่่่าน 55+

    ตอบลบ
  8. ไอ่นี่..ทำได้แค่นี้แหละโว้ยย 55

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 18:48

    เนื้อหาแน่น แต่คะแนนสอบไม่เท่าไหร่
    ฮ่าๆ อ้อยจัย

    ตอบลบ
  10. ได้ความรู้มากเลยครับ

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2555 เวลา 23:45

    ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูล ช่วยงานได้เยอะเลย^^

    ตอบลบ