❤ บุคลิกภาพ


      บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษที่ว่า “Personality” ซึ่งมาจากรากศัพท์ในภาษาลาตินว่า “Persona” ที่แปลว่าหน้ากาก บุคลิกภาพโดยรวมคือ ลักษณะภายนอก เช่น รูปร่าง หน้าตา กิริยาท่าทาง เป็นต้น และลักษณะภายใน เช่น นิสัยใจคอ ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม อารมณ์ และสติปัญญา




ความสำคัญของบุคลิกภาพ
      1. เกิดการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ พฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในแต่ละบุคคล
      2. เกิดการกตะหนักในเอกลักษณ์ของบุคคล ซึ่งบุคลิกภาพบางอย่างอาจเป็นต้นแบบให้กับบุคคลอื่นๆ รอบข้างได้
      3. สามารถพยากรณ์พฤติกรรมได้ ทำให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าหากมีสถานการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับเขา ก็น่าที่จะพบการตอบสนองจากบุคคลนั้นๆ ในลักษณะใดมากที่สุด
      4. เกิดความมั่นใจในตัวเอง บุคลิกภาพที่ดีจะส่งผลให้บุคคลเกิดความมั่นใจในการแสดงออก
      5. สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ บุคลิกภาพมีส่วนที่สำคัญในการช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลและสถานการณ์ได้ดีขึ้น
      6. การยอมรับของกลุ่ม บุคลิกภาพดีมักเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป โอกาสของการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นก็ย่อมมีมากขึ้น
      7. บุคลิกภาพทำให้เกิดความสำเร็จ บุคลิกภาพดีมักจะได้เปรียบคนอื่นๆ เสมอ เพราะการที่มีบุคคลิกภาพดนั้นจะทำให้ได้รับความเชื่อมั่นและศรัทธาจากผู้พบเห็นเป็นทุนเดิมแล้ว




บุคลิกภาพกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
      บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งมีความแตกต่างกันไป และสาเหตุที่ทำให้บุคลิกภาพของแต่ละคนแตกต่างกันนั้น เนื่องมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ พันธุกรรม (Heredity) และสิ่งแวดล้อม (Environment)
      1.อิทธิพลของพันธุกรรม ที่มีต่อบุคลิกภาพของบุคคล ส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าบุคลิกภาพในส่วนของลักษณะภายนอกทั้งหลาย เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผม สีผิว และลักษณะภายใน เช่น สติปัญญา เป็นต้น
      2.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อบุคลิกภาพของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย ครอบครัว สถานศึกษา ศาสนา สิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะให้ประสบการณ์ต่างๆ แก่บุคคล ซึ่งประสบการณ์ดังกล่าวอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
           2.1 ประสบการณ์ร่วมกัน (Experiences Common to Culture) หมายถึงประสบการณ์ที่ได้รับเหมือนๆ กับบุคคลอื่นในสังคม เช่น วัฒนธรรม ความเชื่อ ทัศนคติ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าเป็นอิทธิพลทางวัฒนธรรมนั้นเอง
           2.2 ประสบการณ์เฉพาะ (Individual Experience) ประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป เป็นผลจากบรรยากาศการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม




ทฤษฏีบุคลิกภาพ
      เป็นสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์และประกอบด้วยนิยามมีกฎที่สามารถพิสูจน์ได้
1.กลุ่มทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางจิต (Psychodynamic Theories) ประกอบด้วย 3 ทฤษฏีสำคัญ ได้ก่
      1.1 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) ซิกมันด์ ฟรอยด์ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
           1.1.1.อิด (Id) เป็นพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มีฐานมาจากสัญชาตญาณพื้นฐาน ในตัวมนุษย์ 2 ประการ คือ ความต้องการทางเพศ และความก้าวร้าว จึงกล่าวว่าอิดคือหลักแห่งความพึงพอใจ
           1.1.2.อีโก้ (Ego) พัฒนาจากการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองพลังของอิด คือ หลักแห่งความเป็นจริง
           1.1.3.ซุปเปอร์อีโก้ (Super ego) พัฒนามาจากกระบวนการเรียนรู้ ในจิตใต้สำนึกของบุคคล ซุปเปอร์อีโก้คือ จิตสำนึกแห่งคุณธรรมความดีงาม ทำงานตามหลัก แห่งคุณธรรมจริยธรรม
           การทำหน้าที่ของอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้นั้นจะทำงานในระดับที่แตกต่างกันของความรู้ตัว โครงสร้างทางจิต ด้วยภูเขาน้ำแข็ง โดยเป็น จิตไร้สำนึก จิตสำนึก และจิตใกล้สำนึก
      1.2 ทฤษฎีจิตวิทยาวิเคราะห์ (Analytical Psychology Theory) ได้แก่ คาร์ล จี. จุง ซึ่ง จุง เคยทำงานกับ ฟรอยด์แต่คิดเห็นไม่ตรงกัน และได้ทำการแบ่งประเภทของบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
           1.2.1.บุคคลประเภทชอบสังคม (Extrovert) เป็นคนเปิดเผย ร่าเริง ไม่ชอบเก็บตัว
           1.2.2.บุคคลประเภทเก็บตัว (Introvert) เป็นคนท่าทางลึกลับ ผูกพันกับตนเอง ชอบหลบหนี



      1.3 ทฤษฎีจิตวิทยารายบุคคล (Individual Psychology) อัลเฟลด แอดเลอร์ มี 3 ปัจจัยสำคัญ
           1.3.1.ลำดับการเกิด
                1.3.1.1 ลูกคนโต
มีบุคลิกขี้อิจฉา และเกลียดชังผู้อื่น รู้สึกไม่มั่นคง พยายามปกป้องตนเอง
                1.3.1.2 ลูกคนกลาง มีลักษณะทะเยอทะยาน มีมานะ จะเป็นคนดื้อรั้น และอิจฉาพี่น้อง
                1.3.1.3 ลูกคนเล็ก มักได้รับการตามใจ และครอบช่วยเหลืออยู่เสมอ เอาแต่ใจตัวเอง
                1.3.1.4 ลูกคนเดียว ได้รับการตามจากครอบครัว เอาแต่ใจ เหมือนลูกคนเล็ก
           1.3.2.ประสบการณ์วัยเด็ก
                1.3.2.1 เด็กที่มีปมด้อย
ฝังใจว่าตนเป็นผู้มีเคราะห์กรรม ล้มเหลวอยู่ตลอดเวลา
                1.3.2.2 เด็กที่ถูกตามใจจนเสียเด็ก มักเติบโตเป็นบุคคลที่เอาแต่ใจตนเอง เห็นแก่ตัว
                1.3.2.3 เด็กที่ถูกทอดทิ้ง คิดว่าตนเป็นคนที่คนอื่นรังเกียจเหยียดหยาม อยากแก้แค้น
           1.3.3.ความปรารถนา ปมเด่นและความรู้สึกถึงปมด้อย ทุกคนอยากมีความเด่น อย่างน้อย 1 ประการ และผู้ที่มีปมด้วย มักจะสร้างปมเด่นมาชดเชย




2.กลุ่มทฤษฎีบุคลิกภาพแบ่งตามประเภท
      2.1 ทฤษฎีประเภทของเชลดอน แบ่งบุลิกตามโครงสร้างของร่างกาย ดังนี้
           2.1.1.ประเภทอ้วนเตี้ย ร่าเริง มีอารมณ์ขัน เฉื่อยชา พึงพอใจกับการกิน รักสบาย
           2.1.2.ประเภทสมส่วน แข็งแรง ชอบออกกำลังกาย กระตือรือร้น กล้าหาญ
           2.1.3.ประเภทผอมสูง แขนขายาว ศีรษะมีขนาดใหญ่ เป็นคนเก็บตัว ไวต่อความรู้สึก
      2.2 ทฤษฎีบุคลิกภาพของไอแซงค์ แฮนส์ ไอแซงค์ บุคลิกภาพประกอบด้วย 2 มิติ ได้แก่ มิติเก็บตัว-แสดงตัว และมิติมั่นคง-หวั่นไหว

3.กลุ่มทฤษฎีบุคลิกภาพแบ่งตามคุณลักษณะเฉพาะตัว
      3.1 ทฤษฎีอุปนิสัยของอัลพอร์ต
บุคลิกภาพ คือ ปริศนาที่ไม่มีคำตอบเบ็ดเสร็จ ไม่มีอุปนิสัยใดตายตัวในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
           3.1.1.อุปนิสัยสามัญ หรืออุปนิสัยพื้นฐาน หมายถึง อุปนิสัยของบุคคลที่มีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากเกิดและเติบโตภายในสังคมและวัฒนธรรมเดียวกัน
           3.1.2.อุปนิสัยส่วนบุคคล เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละบุคคล คือ อุปนิสัยหลัก (โดดเด่นในตัวของบุคคล)อุปนิสัยร่วม (มีอยู่ในตัวบุคคลมากบ้างน้อยบ้างในสถานการณ์หนึ่งๆ) อุปนิสัยทุติยภูมา(ไม่ชอบเอารัดเอาเปรียบ ใช้ปัญญาในการช่วยเหลือผู้อื่น)
      3.2 ทฤษฎีลักษณะเฉพาะของแคตเตล์ กล่าวว่าลักษณะบุคลิกภาพเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อุปนิสัยพื้นผิว คือการแสดงออกให้เห็น เช่น สาวเปรี้ยว ทันสมัย เป็นต้น และ อุปนิสัยดั้งเดิม เป็นนิสัยภายในที่แท้จริงของบุคคล




4.กลุ่มทฤษฎีบุคลิกภาพเชิงมนุษยนิยม มี 2 ทฤษฎีได้แก่
      4.1 ทฤษฎีตัวตน ได้แก่ ตนที่ตนรับรู้ ตนตามความเป็นจริง ตนตามอุดมคติ คือเป็นอะไรที่ตนอยากจะเป็น
      4.2 ทฤษฎีตามลำดับขั้นความต้องการ คือ อับราฮัม มาสโลว์ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ธรรมชาติของมนุษย์ในความปรารถนาที่ต้องการจะพัฒนาตนเองเพื่อให้สู่จุดสูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคน บุคคลนี้เองที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในตัวบุคคลขึ้น โดยแบ่งความต้องการออกเป็น 5 ขั้น คือ ความต้องการด้านร่างกาย ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการด้านความเป็นเจ้าของและความรัก ความต้องการด้านการได้รับยกย่องจากผู้อื่น และความต้องการด้านการเข้าใจตนเองในความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

5.กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
      5.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
บุคคลเลือกแสดงพฤติกรรมที่ได้รับรางวัล หลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ จนหล่อหลอมกลายเป็นบุคลิกภาพ
      5.2 ทฤษฎีการเรียนรู้จากตัวแบบ เกิดจากการที่บุคคลนั้นมีการเรียนรู้จากตัวแบบโดยการสังเกต เป็นการเลียนแบบ ไม่ใช่การลอกแบบ




วิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพ
      1.การประเมินบุคลิกภาพ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ โดยแยกเป็น การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ
      2.การวัดบุคลิกภาพ โดยการใช้แบบทดสอบ ต่างๆ ได้แก่ แบบทดสอบบุคลิกภาพประเภทแบบสอบถาม และแบบทดสอบบุคลิกภาพประเภทฉายภาพ โดยแบบสอบถามมี 4 ลักษณะ คือ

           2.1. แบบสำรวจบุคลิกภาพรวมมิเนโซต้า วินิจฉัยความแปรปรวนทางพฤติกรรมของบุคคลทั้งปกติและผิดปกติ
           2.2. แบบสำรวจทางจิตวิทยาแคลิฟอร์เนีย ใช้วัดบุคคลที่ปกติเท่านั้น
           2.3. แบบทดสอบบุคลิกภาพของเอ็ดเวิร์ด ใช้วัดความสนใจ หรือ ทัศนคติของบุคคล
                      2.4. แบบสอบถามองค์ประกอบทางบุคลิกภาพทั้ง 16 และแบบภาพประเภทฉายภาพ มี 2 ลักษณะ คือ แบบทดสอบหยดหมึกของรอร์ชาร์ช และแบบทดสอบทีเอที




GENERAL PSYCHOLOGY

10 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 12:14

    ผมลูกคนเล็กอะ เอาแต่ใจหรอนี่เรา ฮ่าๆๆๆ

    ตอบลบ
  2. มากๆอ่ะ จะบอกให้

    ตอบลบ
  3. นั่งอ่าน จนตาแฉะ ไปข้างนึงละ 555+

    ตอบลบ
  4. เอาให้แฉะอีกข้างดิ

    ตอบลบ
  5. ลูกคนโต มีความเะป็นผู้นำสูง ฮาๆ

    ตอบลบ
  6. อ่านแล้วได้ความรู้มากมาย

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 13:27

    บุคลิกภาพที่โดดเด่น จะทำให้เราเปนคนที่น่ามอง
    อ้อยจัย

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 13:31

    เหรอ...... 55++ เราเป็นลูกคนเดียว ไม่เห็นเอาแต่ใจเลย เหอะๆ

    ===>> ป้อม

    ตอบลบ
  9. ลูกคนที่สองของแม่ ลูกคนเดียวของพ่อ สรุปฉันคือยังไงนิ งง อิอิ

    ตอบลบ
  10. ได้ความรู้มากครับๆ

    ตอบลบ