❤ เชาว์ปัญญา


เชาว์ปัญญา (Intelligence)
      คือความสามารถของบุคคลในการคิด การกระทำ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ




ปัจจัยที่มีผลต่อเชาว์ปัญญา

อิทธิพลของพันธุกรรม
      ระดับสติปัญญาของบรรพบุรุษ ------> ระดับสติปัญญาของลูกหลาน
      บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมมากเท่าใด ระดับเชาว์ปัญญาจะใกล้เคียงกันมากเท่านั้น
ค่าสหสัมพันธ์ อยู่ระหว่าง 0 กับ 1
      เกี่ยวข้องทางพันธุกรรมมาก - ค่าสหสัมพันธ์สูง
      เกี่ยวข้องทางพันธุกรรมน้อย - ค่าสหสัมพันธ์ต่ำ




อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
      1.สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ - ขณะอยู่ในครรภ์มารดา
      2.สิ่งแวดล้อมทางสังคม - ความสัมพันธ์สิ่งที่อยู่รอบข้าง




ทฤษฎีเชาว์ปัญญา

1.ทฤษฎีองค์ประกอบเดี่ยว (Single - Factor Theory) โดย Binet และ Simon
      เชื่อว่า... เชาว์ปัญญาเป็นผลรวมของความสามารถทั่วๆไปของบุคคล คนที่มีเชาว์ปัญญาสูงจะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ทฤษฎีสององค์ประกอบ (Two - Factor Theory)
      เชื่อว่า...เชาว์ปัญญาเป็นสมรรถภาพทางสมอง มี 2 องค์ประกอบ มี 2 ทฤษฎี
      2.1 ทฤษฎีของสเปียร์แมน (Charls Spearman)
เชาว์ปัญญาแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ
           -องค์ประกอบทั่วไป เป็นความสามารถทั่วไป (6-Factor)
           -องค์ประกอบเฉพาะ เป็นความสามารถเฉพาะ (5-Factor)
           ในแต่ละบุคคล 6-Factor และ 5 Factor ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน อาจมีไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน
      2.2 ทฤษฎีของแคทเทล (Raymond B.Cattel)
เชาว์ปัญญาแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ
           -องค์ประกอบฟลูอิด เป็นสิ่งที่ได้จากพันธุกรรม
           -องค์ประกอบคริสตัลไลซ์ เป็นสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้




3.ทฤษฎีองค์ประกอบหลายตัว (Group - Factor Theory)
      3.1 ทฤษฎีของ Thorndike แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
           -องค์ประกอบทางนามธรรม : ความสามารถในการคิดเป็นนามธรรม
           -องค์ประกอบทางสังคม : ความสามารถในการปรับตัว เรียนรู้ เข้ากับสังคม
           -องค์ประกอบทางเครื่องจักรกล : ความสามารถในการเข้าใจโครงสร้าง การใช้งานเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ
      3.2 ทฤษฎีของ Thurstone
ความสามารถทางสมองมี 7 ด้าน
           -ความสามารถทางภาษา : ความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษา
           -ความสามารถด้านการคิดคำนวณ : ความสามารถในการคิดคำนวณปัญหาทางคณิตศาสตร์
           -ความสามารถด้านเหตุผล : ความสามารถในการคิดแบบอนุมาน กระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่
           -ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ : ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของรูปแบบต่าง ๆ
           -ความสามารถด้านความจำ : ความสามารถในการจำและระลึกความจำ
           -ความสามารถด้านรับรู้ : ความรวดเร็วในการรับรู้รายละเอียด เปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่างได้
           -ความสามารถในการใช้ถ้อยคำ : ใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว ถูกกาลเทศะ




4.ทฤษฎีโครงสร้างเชาว์ปัญญา 3 มิติ (Three - Dimensional Model) J.P.Guilford
โครงสร้างเชาว์ปัญญามี 3 มิติ
      -มิติที่ 1 มิติเนื้อหาในการคิด
           *ภาพ : สิ่งที่เป็นรูปธรรม
           *สัญลักษณ์ : ข้อมูลในรูปเครื่องหมายต่าง ๆ
           *ภาษา : ข้อมูลในรูปถ้อยคำ รูปภาพที่มีความหมาย
           *พฤติกรรม : ข้อมูลที่เป็นกริยาท่าทางที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์ของบุคคล





      -มิติที่ 2 มิติวิธีการ

           *การรู้และเข้าใจ : การรับรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัว
           *การจำ : ความสามารถจำสิ่งต่าง ๆ
           *การคิดแบบเอนกนัย : วิธีการคิดที่หลากหลายรูปแบบ คิดสร้างสรรค์
           *การคิดแบบเอกนัย : การคิดที่มีคำตอบเพียงหนึ่งเดียว
           *การประเมินค่า : การตัดสินใจโดยยึดถือความถูกต้อง เหมาะสม ความพึงปรารถนาเป็นเกณฑ์ เปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม





      -มิติที่ 3 มิติของความคิด
ผลของการคิดจากมิติที่ 1 และ 2

           *หน่วย : สิ่งที่ย่อยที่สุด มีลักษณะเฉพาะตัว
           *พวกหรือกลุ่ม : กลุ่มของหน่วยต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติร่วมกัน
           *ความสัมพันธ์ : การเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยหรือกลุ่ม อาศัยลักษณะบางอย่างเป็นเกณฑ์
           *ระบบ : โครงสร้างของหน่วย การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ อย่างมีแบบแผน
           *การแปลงรูป : การเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากลักษณะเดิมสู่รูปแบบใหม่
           *การประยุกต์ : การเข้าใจความหมายโดยนัยของข้อมูล เพื่อใช้ในการคาดคะเน ทำนาย
      บุคคลมี 4 x 5 x 6 = 120 ความสามารถ




การทดสอบเชาว์ปัญญา
      Sir Francis Galtom เป็นผู้ริเริ่มที่ศึกษาความแตกต่างด้านความสามารถของบุคคล
      1.แบบทดสอบรายบุคคล
           -แบบทดสอบของอัลเฟรด บิเนท์ วัดความแตกต่างระหว่างเด็กปกติกับเด็กเรียนช้า
           -แบบทดสอบของเทอร์แมน นำแบบทดสอบของบิเนท์มาปรับปรุง
           -แบบทดสอบของเวดสเลอร์ มี 3 ชุด
                ก.WAIS - ผู้ใหญ่
                ข.WISC - เด็ก 6-15 ปี เด็กวัยเรียน
                ค.WPPSI - เด็ก 4 ปี - 6 ปี 6 เดือน เด็กก่อนวัยเรียน




      2.แบบทดสอบรายกลุ่ม
           -แบบทดสอบที่ใช้ภาษา
           -แบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา
           Army Alfa - ใช้ทดสอบผู้ที่อ่านออกเขียนได้ &
           Army Beta - ใช้ทดสอบผู้ที่ไม่รู้หนังสือ




เกณฑ์การวัด IQ
      นำค่าที่ได้จากแบบทดสอบที่เรียกว่า อายุสมอง (MA) มาเปรียบเทียบกับ อายุที่แท้จริง (CA)
      IQ = MA*100/CA



GENERAL PSYCHOLOGY

11 ความคิดเห็น:

  1. หาอายุสมองให้หน่อยสิ
    เค้าจะเอาไปวัด IQ

    :)

    ตอบลบ
  2. เค้าจะมีเชาว์ปัญญาไหมเนี่ย??

    ตอบลบ
  3. คงมีแหระ ต้องมากหรือน้อยก้ไม่รุอ่าน้ะ ^^

    55+

    ตอบลบ
  4. ........จะวัดเชาว์ทำยังไงค่ะ........

    ตอบลบ
  5. ได้ความรู้มากมายเลยคับ

    ตอบลบ
  6. อืม..แล้ว IQ เราจะมีเท่าไหร่นิ!!!

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ31 สิงหาคม 2553 เวลา 12:30

    รูปประกอบน่ารักได้ใจอ่า

    ตอบลบ
  8. ไม่ขอพูดอะไรมาก เพราะ เชาว์ปัญญา มีน้อย

    55+

    ตอบลบ
  9. โหลๆ เทสๆ

    ตอบลบ
  10. ทำไมเราโง่อย่างงี้

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2553 เวลา 18:51

    5555++ เดือดร้อนทำไมแฝด เรายิ่งกว่าอีก

    ===>> ป้อม

    ตอบลบ