❤ แรงรูงใจและการจูงใจ


      แรงจูงใจ หมายถึง สิ่งที่เร้าหรือกระตุ้นอินทรีย์ให้มีพฤติกรรมไปสู่เป้าหมาย ส่วนการจูงใจ หมายถึง การใช้สิ่งล่อใจเพื่อให้ทำหน้าที่เร้าหรือกระตุ้นอินทรีย์ให้กระทำพฤติกรรมตามที่ปรารถนา ตัวอย่างของการจูงใจ เช่น การให้รางวัล การให้คำยกย่องชมเชย สิ่งล่อใจดังกล่าวจะกระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรมตามที่ปรารถนาอย่างกระตือรือร้น




แรงจูงใจมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
      1.มีทิศทาง(Direction)
คือ วิธีการที่บุคคลได้พยายามที่จะกระทำเพื่อไปสู่เป้าหมาย
      2.มีความพยายาม (Effort) คือ บุคคลได้พยายามอย่างหนักมากน้อยเพียงใด เพื่อให้บรรลุในเป้าหมาย
      3.มีความต่อเนื่อง (Persistence) คือ บุคคลได้ใช้เวลาในการพยายามอย่างไม่ลดละเพื่อไปสู่เป้าหมายยาวนานเพียงใด





แรงจูงใจมี 3 ประเภท คือ
      1.แรงจูงใจทางชีววิทยา (Biological motives)
เช่น ความหิว ความกระหาย ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
      2.แรงจูงใจทางการกระตุ้น (Stimulus motives) เช่น การรับสัมผัส ความอยากรู้อยากเห็น เป็นต้น
      3.แรงจูงใจทางสังคมที่เป็นการเรียนรู้ (Learned social motives) คือ เน้นไปที่ประสบการณ์ทางสังคม




กระบวนการการเกิดแรงจูงใจ
      จะเริ่มจากร่างกายเกิดความต้องการ เช่น ความหิว ความกระหาย หรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ต้องการมีชื่อเสียง เป็นต้น เมื่อบุคคลเกิดความต้องการก็จะเกิดแรงขับ แรงขับนี้จะมีผลให้บุคคลกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ และจะก่อให้เกิดความพอใจ ซึงก็จะทำให้แรงขับของบุคคลลดลง อย่างไรก็ตาม บุคคลก็จะมีการเสียสมดุล หรือมีความต้องการด้านอื่น ๆ ขึ้นมาอีก และกระบวนการการเกิดแรงจูงใจก็จะเกิดขึ้นอีกเป็นวงจรซ้ำๆ ตลอดช่วงชีวิตของบุคคล

กระบวนการการจูงใจ
      จะมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการการเกิดแรงจูงใจ เพียงแต่กระบวนการการจูงใจ เริ่มแรกบุคคลอาจจะไม่ได้มีความต้องการแต่ถูกเร้าให้เกิดความต้องการเกิดขึ้นในตัวบุคคล ดังนั้น กระบวนการของการจูงใจจึงเพิ่มขั้นตอนของการเร้า หรือการกระตุ้นให้เกิดความต้องการอีกขั้นตอนหนึ่ง





ทฤษฏีแรงจูงใจ (Theories of Motivation)
      1. ทฤษฏีสัญชาตญาณ (lnstinct Theory) ได้ให้รูปแบบของพฤติกรรมว่าเป็นผลมาจากสัญชาตญาณ สัญชาตญาณจึงเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดของสมาชิกทั้งหมดในสัตว์สกุล เดียวกัน นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่เสนอแนวคิดนี้ ได้แก่ วิลเลี่ยม เจมส์ (William James) (1890) โดยเขาชื่อว่า ตามปกติแม้บุคคลจะสามารถแสดงสัญชาตญาณได้อย่างอัตโนมัติ แต่บุคคลก็สามารถปรับเปลี่ยนสัญชาตญาณได้ โดยการเรียนรู้และประสบการณ์

      2. ทฤษฏีแรงขับ (Drive theory) คำว่าแรงขับ (Drive) ได้นำมาใช้ครั้งแรกโดยวูดเวิร์ธ (Woodworth) ในปี ค.ศ. 1918 หมายถึง สิ่งกระตุ้นภายในที่ผลักดันให้บุคคลกระทำพฤติกรรม เขาได้อธิบายว่าลักษณะของแรงขับว่ามีทิศทาง ความเข้ม และความคงทน ความคิดในเรื่องการขับจะมีความเกี่ยวข้อง กับกระบวนการที่เรียกว่า โฮมีออสเตซิส (Homeostasis)




      3. ทฤษฏีเครื่องล่อ (lncentive Theory) ทฤษฏีนี้จะดึงให้บุคคลไปสู่เป้าหมาย เพราะสิ่งเร้าอยู่ภายนอก จึงเรียกเป็น Pull theory ซึ่งบางครั้งบุคคลอาจจะไม่ได้มีความขาดแคลนเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลที่จะเป็นสาเหตุให้ความต้องการทางชีววิทยานำไปสู่แรงขับ เพื่อรักษาความสมดุล หรือกระบวนการโฮมีออสเตซิส แต่บุคคลได้ถูกจูงใจจาดสิ่งเร้าภายนอก ที่เรียกว่า สิ่งล่อใจ (lncentive) ที่เป็นสิ่งดึงบุคคลให้ไปสู่เป้าหมาย

      4. ทฤษฏีการตื่นตัว (Arosal Theory) ได้ให้ความสำคัญกับระดับพลังงานที่จำเป็นต่อการก่อให้เกิดการตื่นตัวของบุคคล กิจกรรมบางกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคล จะเป็นการเพิ่มระดับของการตื่นตัว แต่ในบางครั้งบุคคลจะมีการตื่นตัวอย่างสูง และต้องการที่จะลดระดับการตื่นตัวให้ช้าลง




      5. ทฤษฏีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ รูปแบบของมาสโลว์ได้เป็นการพิจารณว่า ความต้องการของมนุษย์จะเริ่มจากระดับล่างเสียก่อน เมื่อความต้องการในระดับล่างได้รับการตอบสนองแล้ว ก็จะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป แต่ความต้องการในระดับสูงขึ้นจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งรูปแบบของมาสโลว์จะเป็นลักษณะเป็นปิรามิด

      6. ทฤษฏีความคาดหวัง – คุณค่า ทฤษฏีนี้ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการคิดความคาดหวังความเชื่อและความเข้าใจของบุคคล โดยมีประเภทของการรู้คิด 2 ประการที่นำไปสู่พฤติกรรมของบุคคล ประการแรก คือ ความคาดหวังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุให้บุคคลเข้าถึงเป้าหมายโดยเฉพาะตามที่บุคคลต้องการ และประการที่สอง คือ ความเข้าใจในคุณค่าของเป้าหมายนั้นที่มีต่อตัวบุคคล





GENERAL PSYCHOLOGY

4 ความคิดเห็น:

  1. แรงจูงใจ หมายถึง สิ่งที่เร้าหรือกระตุ้นอินทรีย์ให้มีพฤติกรรมไปสู่เป้า

    แล้ว อินทรีย์ นี่คือ ปุ๋ยคอก หรือ นก อ่ะ ?

    555+

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ2 ธันวาคม 2561 เวลา 14:28

      อินทรีย์ ในความหมายที่นี้คือ ร่างกายค่ะ

      ลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ28 กรกฎาคม 2556 เวลา 20:44

    ปุ๋ยหมักค่ะ

    ตอบลบ