❤ การเรียนรู้


การเรียนรู้ (Leaning)
      การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลจากประสบการณ์ การฝึกหัด ไม่เกี่ยวกับธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นผลมาจากการพัฒนา วุฒิภาวะ ความเจ็บป่วย ความเหนื่อยล้า และฤทธิ์ของยาหรือสารเคมีต่างๆ

ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้
      1. เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จากที่ทำไม่ได้มาเป็นทำได้
           การเปลี่ยนแปลงด้าน Cognitive Domain เปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจ
           การเปลี่ยนแปลงด้าน Affective Domain เปลี่ยนแปลงความตั้งใจ ความพอใจ
           การเปลี่ยนแปลงด้าน Psychomotor Domain เปลี่ยนแปลงด้านทักษะ ความสามารถ ซึ่งอาศัยการฝึกฝน
      2. การเรียนรู้เป็นผลของการฝึกหัดและประสบการณ์
      3. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เช่น การกินเหล้า ใช้เหล้าเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น



กระบวนการเรียนรู้

      สิ่งเร้า (Stimulus) > การสัมผัส(Sensation) > การรับรู้(Perception)

      V

      การตอบสนอง((Response) > มโนทัศน์(Concept)



ปัจจัยที่มีอิทธิพลจากการเรียนรู้

      1. ตัวผู้เรียน

           1.1. ระบบสมองและประสาท
           ปกติ – เรียนรู้ได้ดี
           ไม่ปกติ – เรียนรู้บกพร่อง
           1.2. วุฒิภาวะ ทั้งกายและจิตใจ (เกิดขึ้นตามวัย)
           1.3. ความพร้อม
           1.4. ประสบการณ์ ทำให้เรียนรู้ได้เร็วและชัดเจนมากขึ้น
           1.5. แรงจูงใจ เป็นแรงกระตุ้นให้เหมือนกับสิ่งที่เราชอบ
           1.6. ความบกพร่องทางร่างกาย เรียนรู้ช้า ซึ่งเป็นความพิการทางประสาทสัมผัส
           1.7. ความวิตกกังวล
           สูงเกินไป – กังวลมาก
           มีน้อย – ไม่กังวล
           1.8. สติปัญญา



      2. บทเรียน/ลักษณะงาน
           2.1. การลำดับเนื้อหาให้สอดคล้องกัน
           2.2. การลำดับความยากให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
           2.3. เนื้อหามีความสำคัญ
           2.4. ความยาวของบทเรียนถ้ามากไปก็ไม่สามารถรับได้
           2.5. สิ่งรบกวน
           การเรียนรู้เดิม รบกวน การเรียนรู้ใหม่
           การเรียนรู้ใหม่ รบกวน การเรียนรู้เดิม

      3. วิธีการเรียนและสอน
           3.1. มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เรียน
           3.2. การสร้างแรงจูงใจ
           3.3. การแนะแนวทางหาความรู้เพิ่มเติม
           3.4. วิธีการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา
           3.5. การฝึกปฏิบัติหลังการเรียนรู้ทฤษฎี



      4. ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้

      5. องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม
           5.1. ทางกายภาพ
           5.2. ด้านจิตใจ
           5.3. วัฒนธรรมประเพณี



ทฤษฎีการเรียนรู้
      1. กลุ่มทฤษฎีการเชื่อมโยงสัมพันธ์ต่อเนื่อง
           1.1. ทฤษฎีการเชื่อมโยง โดย ธอร์นไดค์ ศึกษาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง หาสาเหตุของปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา โดยลองผิดลองถูก เช่น แมวหิว + ตะกุยตะกาย + วิ่งไปมาเพื่อหาทางออกจากกรง + แมวเหยียบแท่นไม้โดยบังเอิญแล้วประตูก็เปิดออก
           นำผลการทดลองมาตั้งเป็น “กฎของการเรียนรู้”
           - กฎแห่งผล
           - กฎแห่งการฝึกหัด ทำซ้ำบ่อย ๆ ทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น
           - กฎแห่งความพร้อม เมื่อพร้อมที่จะทำ จะทำได้ดี และเมื่อไม่พร้อมที่จะทำ จะทำได้ไม่ดี
           1.2. ทฤษฏีการวางเงื่อนไข ของพาฟลอฟ แบบ Classical Conditionning
           1.3. ทฤษฏีการวางเงื่อนไข ของสกินเนอร์ แบบ Operant Conditionning
           - การตอบสนอง (กดคาน) เกิดจากตัวอินทรีย์เอง
           - อินทรีย์ควบคุมการตอบสนอง (กดคานได้) ได้

      2. กลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม การทำงานของสมองเป็นการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆที่ซับซ้อนได้



ความจำ (Memory)
      ความจำ หมายถึง กระบวนการที่สมองเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ เมื่อจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนั้นก็สามารถดึงออกมาใช้ได้แต่ข้อมูลบางส่วนอาจจะเลือนหายไปตามกาลเวลา

รูปแบบของความทรงจำ
      1. ความจำการรับสัมผัส จะจำได้ไม่กี่นาที
      2. ความจำระยะสั้น
      3. ความจำระยะยาว คือ จำชื่อตัวเองได้

วิธีวัดความจำ
      1. การระลึก รื้อฟื้นความจำในขณะที่ไม่มีเหตุการณ์นั้นปรากฏตรงหน้า
      2. การจำได้ จดจำสิ่งเร้าที่เคยเจอมาก่อนหน้า
      3. การเรียนซ้ำ เรียนในสิ่งที่เคยเรียนมาแล้ว



การลืม
สาเหตุของการลืม :

      1. การเสื่อมสลายของร่องรอย ลืมเลือนไปตามกาลเวลา
      2. การแทรกแซง
           - การตามแทรกแซง
           - การย้อนแทรกแซง
      3. แรงจูงใจ ลืมในสิ่งที่ไม่อยากจำ เก็บกฎเอาไว้ในจิตไร้สำนึก
      4. การเข้ารหัสโดยเฉพาะ รื้อฟื้นความทรงจำได้ดีเมื่อในสถานการณ์เดิม

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการจำ
      1.วิธี SQ3R
           S > Survey : อ่านบทเรียนคร่าวๆ
           Q > Question : ตั้งคำถามกับตัวเอง
           R > Read : การอ่านอย่างตั้งใจ
           R > Recite : ตรวจสอบจุดที่ตัวเองเข้าใจและไม่เข้าใจ
           R > Review : ทบทวนสิ่งที่เรียนมา

      2. การกระจายการฝึกหัด เหมะกับบทเรียนที่เป็นวิชาการ “เป็นการอ่านหนังสือเพื่อทบทวนวันละเล็กน้อย ซึ่งจะดีกว่าการหักโหมอ่านหนังสือทีเดียวทั้งหมด”

      3. วิธีการของโลซี เหมาะกับการท่องจำเป็นรูปธรรมโดยนำไปเชื่อมโยงกับสถานที่

      4. วิธีหมุดคำ เริ่มจากการจำบัญชีรายชีของคำนามที่เป็นรูปธรรมมีเสียงคล้องจองกับตัวเลข 1,2,3,...

      5. วิธีการเชื่อมโยง เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงเพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ อาจจะเป็นการเล่าเรื่องโดยใช้คำที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาเชื่อมโยงเพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น





GENERAL PSYCHOLOGY

5 ความคิดเห็น:

  1. เพิ่งรู้ว่ามีแรงจูงใจในการลืมด้วยอ่า ~

    ตอบลบ
  2. การเรียนรู้ๆ

    ความขี้เกียจจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้น้อยลงไหมเนี่ยๆ

    ตอบลบ
  3. น้องแฟ้มม..อยากรุต้องลอง ^^ 55

    ตอบลบ
  4. อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ ทำไมหนอ ???

    ตอบลบ
  5. สามารถนำไปใช้ในการเรียนได้เลยนะนี่ ชอบๆๆๆๆ

    ตอบลบ